คำอธิบาย: C:\Users\Pui\Desktop\cv.jpg 

 

                 ทัศนคติ  ( Attitude ) คือ  ความรู้สึกในการประเมินว่าชอบ หรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง    ซึ่งทัศนคตินั้นจะเป็นส่วนสำคัญที่จะกำหนด หรือผลักดันในแต่ละบุคคลนั้นเกิดพฤติกรรม หรือการกระทำที่สอดคล้องกับทัศนคติที่แต่บุคคลนั้นมีอยู่  
                ทัศนคตินั้นมีทั้งที่เป็นบวกและทัศนคติที่เป็นลบ  ซึ่งจะมีผลต่อองค์การเป็นอย่างมาก  เพราะทัศนคตินั้นมีอิทธิพลต่อการกระทำต่าง ๆของบุคคลในองค์การ  ถ้าพนักงานในองค์การนั้นมีทัศนคติที่เป็นบวกในการทำงานนั้น  พนักงานจะเกิดความพอใจในการทำงาน  เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน  ซึ่งพนักงานจะสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ๆ ให้กับองค์การ และจะพยายามที่จะแสดงศักยภาพภายในตัวเองออกมา  แต่ในขณะเดียวกัน

                การที่บุคคลแต่ละบุคคลมีทัศนคติที่แตกต่างกันไป ย่อมมีส่วนประกอบที่สำคัญ อยู่ 3 ประการ  ด้วยกันคือ
1.        ส่วนของความเข้าใจ  คือ เป็นส่วนที่เป็นความเชื่อ  ความคิดเห็น  ความรู้ หรือข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่แต่ละคนนั้นมีอยู่  ซึ่งความชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ส่วนหนึ่งย่อมเกิดมาจากความเข้าใจที่แต่ละคนมี 
2.        ส่วนของความรู้สึก   คือส่วนของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งเป็นทัศนคติส่วนบุคคล
3.         ส่วนของพฤติกรรม  คือส่วนของความตั้งใจที่จะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติหรือความรู้สึกที่มีอยู่

            โครงสร้างทัศนคติ (Structural model of attitudes) การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติและพฤติกรรม นักจิตวิทยาได้สร้างโมเดลเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างของทัศนคติ การกำหนดส่วนประกอบของทัศนคติเพื่อจะอธิบายพฤติกรรมที่คาดคะเน ต่อมาจะสำรวจโมเดลทัศนคติที่สำคัญหลายประการ แต่ละโมเดลมีทัศนคติที่แตกต่างกันเกี่ยวกับส่วนประกอบของทัศนคติและวิธีการซึ่งส่วนต่างๆ เหล่านี้มีการจัดหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยรายละเอียดดัง ภาพ

ภาพโมเดลองค์ประกอบทัศนคติ 3 ประการ (Tricomponent attitude model)

ที่มา : http://1.bp.blogspot.com/_baQNCHsYf80/TJXfNg8j8nI /s1600/Tricomponent+attitude+model.jpg

 

โมเดลทัศนคติ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
              1. ส่วนของความเข้าใจ (Cognitive component) หมายถึง ส่วนหนึ่งของโมเดลองค์
ประกอบ ทัศนคติ 3 ประการ ซึ่งแสดงถึงความรู้ (Knowledge) การรับรู้ (Perception) และความเชื่อ
ถือ (Beliefs) ซึ่งผู้บริโภคมีต่อความคิดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนของความเข้าใจเป็นส่วนประกอบส่วนแรก ซึ่งก็คือความรู้และการรับรู้ที่ได้รับ จากการประสมกับประสบการณ์โดยตรงต่อทัศนคติและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหลายแหล่งข้อมูล ความรู้นี้และผลกระทบต่อการรับรู้จะกำหนดความเชื่อถือ (Beliefs) ซึ่งหมายถึง สภาพด้านจิตใจ ซึ่งสะท้อนความรู้เฉพาะอย่างของบุคคล และมีการประเมินเกี่ยวกับความคิดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งก็คือการที่ผู้บริโภคมีทัศนคติต่อสิ่งหนึ่ง คุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง หรือพฤติกรรมเฉพาะอย่างจะนำไปสู่ผลลัพธ์เฉพาะอย่าง
               2. ส่วนของความรู้สึก (Affective component) หมายถึง ส่วนของโมเดลองค์ประกอบทัศนคติ 3 ประการซึ่งสะท้อนถึงอารมณ์(Emotion) หรือความรู้สึก (Feeling) ของผู้บริโภคที่มีต่อความคิดหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนของอารมณ์และความรู้สึกมีการค้นพบโดยผู้วิจัยผู้บริโภค ซึ่งมีการประเมินผลเบื้องต้นโดยธรรมชาติ ซึ่งมีการค้นพบโดยการวิจัยผู้บริโภค ซึ่งประเมินทัศนคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการให้คะแนนความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ ดีหรือเลว เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย การวิจัยได้ระบุว่าสภาพอารมณ์จะสามารถเพิ่มประสบการณ์ด้านบวกหรือลบ ซึ่งประสบการณ์จะมีผลกระทบด้านจิตใจและวิธี ซึ่งบุคคลปฏิบัติการใช้การวัดการประเมินผลถึงทัศนคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาศัยเกณฑ์ ดี-เลว ยินดี-ไม่ยินดี
                3.ส่วนของพฤติกรรม (Conative component หรือ Behavior หรือ Doing) หมายถึง ส่วนหนึ่งของโมเดลองค์ประกอบทัศนคติ3 ประการ ซึ่งสะท้อนถึงความน่าจะเป็นหรือแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อทัศนคติที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจหมายถึงความตั้งใจที่จะซื้อ

 

ขอขอบคุณ : 1.http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2298

2. http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/atttitude.html