การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วน ๆ หรือมีสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นประกอบด้วยก็ได้ หรือเรียกว่า ภาพภูมิทัศน์การวาดภาพทิวทัศน์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักของทัศนียภาพ (Perspective) ให้ดีเสียก่อน   จึงจะถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง
ภาพทิวทัศน์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 
         1. ภาพทิวทัศน์บก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบนบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น   ท้องนา   ป่าเขา  ห้วยหนอง  คลองบึง  น้ำตก  ฯลฯ   เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศแสงเงา และเรื่องราวต่างๆในธรรมชาติ ในการวาดอาจมีภาพคนหรือภาพสัตว์ประกอบ เพราะจะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
         2.  ภาพทิวทัศน์ทะเล (Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล เช่น โขดหิน หาดทราย น้ำทะเล และบรรยากาศทางทะเลต่างๆ รวมทั้งภาพคน สัตว์ บ้านเรือน และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ด้วย
         3.  ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น   เช่น   วัดวาอาราม   ตึกรามบ้านช่อง  โบสถ์   วิหาร   รวมทั้งภาพคน ภาพสัตว์  และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ในภาพด้วย
ลักษณะการถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ 
         1. การวาดภาพแบบเหมือนจริง (Realistic) ก็คือการวาดให้เหมือนจริงทั้งรูปทรง สัดส่วน แสงเงา สี ระยะใกล้ไกล
         2. การวาดภาพแบบตัดทอน (Distortion) เป็นการใช้สายตา ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ ลดทอนรูปทรงจากภาพจริงให้เป็นไปตามจินตนาการของจิตรกร    
         3. การวาดภาพแบบนามธรรม (Abstraction) เป็นการใช้อารมณ์ความรู้สึกแทนค่ารูปทรงและความเหมือนจริง

'

ภาพแสดงภาพวาดทิวทัศน์

ที่มา : http://192.168.1.12/elearning/file.php/194/lesson3/content3_2.html

ขั้นตอนการเขียนภาพทิวทัศน์ 
         1. สร้างความประทับใจในธรรมชาติ   ก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่เราชอบ  เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทำให้เราสร้างสรรค์งานได้ดีกว่าวาดรูปที่ไม่ชอบ 

         2. วิเคราะห์ภาพทิวทัศน์ ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไร
ภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเมื่อวิเคราะห์แล้วก็ฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆครั้ง
         3. เลือกมุมมองและจัดภาพ การเลือกมุมมองของภาพสำคัญมาก ซึ่งสามารถหามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษแข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว >>เพื่อนำแทนกล้องถ่ายรูปไง และหลักง่ายๆที่ภายในกรอบสนามภาพควรมีก็คือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ
                  3.1 จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจสะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและเนื้อหาที่
สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ 
                  3.2 เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความสับสน
                  3.3 ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกันพอดี เช่น 
                           - ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวา เหมือนกัน ภาพจะดูน่าเบื่อ 
                           - ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งภาพดูน่าสนใจมากกว่าแบบแรก    
                  3.4 ร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ ในหัวข้อนี้สำคัญมากและมีความยุ่งยากเล็กน้อยจึงขอขึ้นเป็นหัวข้อใหม่

 

ที่มา : 1. http://www.chanpradit.ac.th/~teerabhan/aut1.html