<< Go Back

สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ
      สัญญลักษณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ
      1. สัญลักษณ์เกลียว
      2. สัญลักษณ์ผิวงาน
      3. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
      4. พิกัดความเผื่อเบื้องต้น
1. เกลียว ( Thread)
      เกลียวเป็นชิ้นงาน ส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการหมุน ให้เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงเพื่อยึดชิ้นงาน หรือ ทำให้ชิ้นส่วนเคลื่อนที่ เกลียวมีรูปร่างเป็นร่องวนรอบ ตัวอย่างดังภาพที่ 9.1 เพื่อให้สะดวกในการเขียนแบบ จึงมีการกำหนดเป็นภาพสัญลักษณ์แทน ดังภาพที่แสดงต่อไปนี้


ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

2. สัญลักษณ์ความหยาบละเอียดของผิวงาน
      ผิวชิ้นงานที่ผ่านการะบวนการผลิตด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น งานหล่อ งานรีด งานกดอัดขึ้นรูป และ งานขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล (งานกัด งานกลึง งานเจียระไน ฯลฯ) เมื่อมองด้วยสายตาเราจะเห็นว่าผิวของชิ้นงานมีความเรียบ แต่เมื่อนำมาขยาย ก็จะพบว่าผิวงานเหล่านั้นขรุขระเป็นคลื่นสูง-ต่ำไม่เท่ากัน โดยเฉพาะถ้าผิวของชิ้นงานใดมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันมาก แสดงว่าผิวของชิ้นงานนั้นมีความหยาบของผิวมาก แต่ถ้าผิวของชิ้นงานใดมีความสูง-ต่ำน้อย ก็แสดงว่ามีความหยาบของผิวน้อย และละเอียดมากกว่า ซึ่งความหยาบละเอียดของผิวงานนี้ จะมีความจะเป็นสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลบางชนิด เช่น ตลับลูกปืน เป็นต้น แต่สำหรับชิ้นงานบางชนิด อาจจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระบุความหยาบ ละเอียดของผิวงาน เพราะจะทำให้เสียเวลาในการผลิต


ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

3. สัญลักษณ์แนวเชื่อม
       การกำหนดสัญลักษณ์งานเชื่อม (Weld Symbols) มาตรฐาน ISO 2553: 1992 (E) มีรายละเอียดดังนี้คือ
       3.1. สัญลักษณ์เบื้องต้น เป็นแบบของการเชื่อมชนิดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยสัญลักษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีรูปร่างคล้ายกับพื้นที่หน้าตัดของแนวเชื่อมดังที่แสดงไว้ในตาราง



ที่มาของภาพ : https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

4. พิกัดความเผื่อ
      ในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของชิ้นงานอาจเกิดข้อผิดพลาด ในกระบวนการต่าง ๆได้ ไม่ว่าจะเกิดจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิต เป็นต้น แต่ค่าผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน อาจมีค่ามากหรือน้อย ซึ่งจะมากหรือน้อย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการกำหนดค่าความผิดพลาดที่ยอม ให้เกิดขึ้นได้ในการผลิตชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้ ซึ่งเราจะเรียกค่าผิดพลาดที่สามารถยอมรับได้ หรือค่าผิดพลาดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ว่า “ ค่าพิกัดความเผื่อ (Tolerances)”


https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/sayy-laksn-thi-chi-ni-ngan-kheiyn-baeb

    << Go Back