<< Go Back 

       ฟ้อนเป็นการแสดงพื้นเมือง  อันเป็นศิลปะของไทยฝ่ายเหนือ เป็นการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นชุดๆ  ไม่ดำเนินเป็นเรื่องราว  ท่าทางกรีดกรายร่ายรำบางท่า  แม้จะไม่มีความหมายนอกจากความสวยงาม  แต่บางท่ามีความหมายตามท่าและบทร้อง  ในสมัยโบราณฟ้อนใช้แสดงประกอบเฉพาะในวันสำคัญในพระราชพิธีและพระราชฐานเท่านั้น  เช่น  ในคุ้มหลวง  ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น  ศิลปะการฟ้อนอยู่ที่ความพร้อมเพรียงและความอ่อนช้อยของท่ารำเป็นสำคัญ  จำนวนผู้แสดงมักแสดงเป็นหมู่ราว 8 คน หรือ 4 คู่  บางทีก็แสดงกลางแจ้งนับ 10 คู่  หรือจำนวนร้อยคู่ขึ้นไป  เครื่องแต่งกายเป็นแบบชาวเหนือสลับสีกันอย่างงดงาม
        การฟ้อนที่นิยมในปัจจุบันได้แก่  ฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน  ฟ้อนลาวแพน  ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา  ฟ้อนม่านมงคล  ฟ้อนบายศรี    เป็นต้น
คุณค่าและประเภทของการฟ้อน
        การฟ้อนได้กล่าวว่าเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมและขนบประเพณีชาวเหนือ  ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ  ทั้งการต่างกาย  จังหวะ  และลีลา   ท่าทางการฟ้อนรำ  เพลงและดนตรีที่ใช้ประกอบ  จึงนับเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชาวภาคเหนือโดยแท้
การแต่งกาย
        การฟ้อนทุกชนิดของภาคเหนือจะเห็นว่า ผู้หญิงจะนุ่งผ้ามีเชิงยาวกรอมเท้า  ใส่เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ  ห่มสไบ  หรือมีสไบยาวคล้องคลุมปล่อยชายลงมาถึงเข่า   เพราะอากาศทางภาคเหนือเย็นสบาย  ประชาชนจึงนิยมใส่เสื้อแขนยาวและห่มสไบ  ผมเกล้าสูงทัดดอกไม้แล้วห้อยอุบะ  เพราะทางภาคเหนือมีอากาศดี  ดอกไม้จึงสวยงาม  โดยเฉพาะดอกเอื้อง  หรือดอกกล้วยไม้มีมาก  นำมาประดับผมทำให้สวยงามทั้งผู้ฟ้อนและลีลาการฟ้อน
ดนตรีประกอบเพลง
        เครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องให้จังหวะและเครื่องประกอบทำนองการบรรเลง คือ ปี่  ท่วงท่าลีลาท่าทางการฟ้อนจะเป็นไปอย่างช้าๆ อ่อนช้อยสวยงาม  แสดงถึงอุปนิสัยของชาวภาคเหนือว่ามีความเรียบร้อยอ่อนโยน  นุ่มนวล  โอบอ้อมอารี  และยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ  การฟ้อนซึ่งจะเห็นจากการฟ้อนบายศรี  ฟ้อนเทียน  ฟ้อนม่านมงคล  เป็นต้น  ซึ่งการฟ้อนหลายอย่างจะใช้ในการต้อนรับแขกเมือง  หรือแขกเกียรติยศของประเทศ
        การฟ้อนมีความงามอยู่ที่ความอ่อนช้อยและความพร้อมเพรียงเป็นสำคัญ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือประสานสามัคคีกลมเกลียวของชาวภาคเหนือได้เป็นอย่างดี  แม้ว่าสังคมปัจจุบันจะเริ่มก้าวไปสู่แสงสีแห่งอารยธรรมตะวันตก  หันความนิยมไปยังสิ่งที่คิดว่าแปลกใหม่  มากขึ้นก็ตาม   แก่การฟ้อนของชาวภาคเหนือก็ยังเป็นที่ยอมรับและนิยมในสังคมปัจจุบันอยู่  ดังจะเห็นได้จากการฟ้อนของชาวเชียงใหม่ในเทศกาลต่างๆ  ในเฉพาะเกี่ยวกับงานทางศาสนา  เช่น เทศกาลเข้าพรรษา  ทางสลากภัติ  กฐิน  ทอดผ้าป่า  ฯลฯ   ก็จะมีการฟ้อนต่างๆให้ได้ชมกันอยู่เสมอ  ในงานขันโตกดินเนอร์ (คือการเลี้ยงอาหารแบบไทยทางภาคเหนือในเวลาเย็น  ส่วนมากใช้ในโอกาสต้อนรับแขกต่างประเทศ)  ก็จัดขึ้นเพื่อต้อนรับแขกเมือง  สิ่งที่เชิดหน้าชูตาอย่างยิ่งก็คือ  ลีลาอ่อนช้อยงดงามของการฟ้อนนี่เอง  การฟ้อนมิได้นิยมแต่เฉพาะในสังคมของชาวเหนือเท่านั้น  แต่ยังได้รับความยกย่องว่าเป็นศิลปะประจำชาติไทยอีกด้วย  มีการนำไปแสดงยังต่างประเทศ   ทั้งยังเป็นศิลปะที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นอีกด้วย
                        ให้แปลกออกไป  แต่ยังคงลักษณะการแต่งกาย และความอ่อนช้อยให้ลีลาเหมือนเดิม   การฟ้อนที่หาดูได้ยากก็คือ ฟ้อนบายศรี  ซึ่งในพิธีบายศรีต้อนรับแขกเมือง  เนื่องจากการจัดพิธีบายศรีเป็นการยุ่งยากมีพิธีรีตองมากมาย  จึงไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก  ข้อเสนอแนะที่คิดว่าจะสามารถดำรงการฟ้อนบายศรีให้คงอยู่ก็คือ ควรมีการดัดแปลงโดยตัดเอาพิธีต่างๆ  ที่เป็นแบบแผนให้น้อยลงบ้างในบางโอกาส  ก็จะสามารถจัดพิธีฟ้อนบายศรีสู่ขวัญได้ในงานต้อนรับแขกเมืองต่างๆ  ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งมิตรไมตรี อบอุ่นประทับใจแกแขก  และยังเป็นโอกาสเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยอีกส่วนหนึ่งอีกด้วย

ที่มา : หนังสือระบำรำฟ้อน หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่่องในโอกาสวันอนุรักษ์มรดกไทย วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2532
          http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/mallika_s/Art_Thaidance_06/sec01p04.html

    << Go Back