<< Go Back

คำอธิบาย: C:\Users\NB\Desktop\1111111111111111111.jpg

          แคลเซียม ( Calcium )  เป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมี แคลเซียม อยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นในเวลากล่าวถึงแคลเซียม จึงมักจะนึกถึงเฉพาะกระดูกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมี แคลเซียม ส่วนอื่นที่อยู่ในเซลล์ที่ไม่ใช่กระดูกอีกประมาณร้อยละ 1 สำหรับหน้าที่ๆ สำคัญของ แคลเซียม ก็คือ การสร้างกระดูก          ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน อย่างไรก็ตาม แคลเซียม มิใช่เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ได้แก่ การช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้ นอกจากนี้ แคลเซียม ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจปกติและการส่งสัญญานประสาทที่ถูกต้อง รักษาความสมดุลของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ

หน้าที่และประโยชน์ของแคลเซียม

         แคลเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดยแคลเซียมทั้งหมดที่มีในร่างกาย 99 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่กระดูกและฟัน ซึ่งทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง แคลเซียมอีก 1 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ และของเหลวในร่างกาย ซึ่งมีความจำเป็นต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ การหดตัวของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการส่งผ่านของระบบประสาท 
หน้าที่หลักของแคลเซียม คือ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟัน กระดูกของผู้ชายใวัยเจริญพันธุ์ ประกอบด้วยแคลเซียมประมาณ 1.2 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนย้ายแคลเซียมระหว่างกระดูกและเลือด ตลอดจนส่วนอื่นๆ ของร่างกายอยู่ตลอดเวลาโดยการควบคุมของฮอร์โมน กระบวนการเมตาบอลิซึมของวิตามินดีมีความสำคัญต่อร่างกายโดยช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมของกระดูก แคลเซียมยังมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมยังมีความจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือดเมื่อมีบาดแผล 

         วิตามินดี มีความจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายขาดแคลเซียมจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม ภาวะกระดูกเสื่อมเกิดจากร่างกายขาดแคลเซียมหรือได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายต้องดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เป็นผลให้กระดูกแตกหรือหักง่าย ภาวะกระดูกเสื่อมจะเกิดขึ้นเมื่อใดขึ้นกับปัจจัยของแต่ละบุคคล โดยปกติจะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 35-40 ปี โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ภาวะต่อการเสี่ยงของโรคกระดูกเสื่อมนอกจากอาหารแล้วยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมหลายชนิด เช่น นมและ ผลิตภัณพ์นม ผักใบเขียว งา เต้าหู้และปลาตัวเล็กตัวน้อย
         สำหรับการทำงานของ แคลเซียม จะเริ่มจาก เมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึม แคลเซียม ได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

แหล่งให้และขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม
          
นมและผลิตภัณฑ์ของนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะนมวัว กระดูกต่างๆก็เป็นแหล่งแคลเซียมเช่นกันโดยเฉพาะกระดูกปลาที่สามารถเคี้ยวกลืนได้ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเล็กปลาน้อยของไทย เช่น ปลารากกล้วย ปลาซิว เป็นต้น นอกจากกระดูกแล้วเนื้อสัตว์และผักใบเขียวต่างๆก็มีแคลเซียมพอควร แต่แคลเซียมพวกนี้ถูกดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้น้อย เนื่องจากมีใยอาหารและ phytate (inositol phosphate) และ oxalate อยู่ซึ่งขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
          นอกจากนี้ยังมีสารและยาบางชนิด ขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมด้วย เช่น Alcohol ยากันชัก ยาพวก tetracyclines เป็นต้น   

         ความต้องการแคลเซียม
          
ในคนปกติมีความต้องการแคลเซียมประมาณ 800-1500 มก./วัน สำหรับสตรีในระยะตั้งครรภ์และให้นมบุตรต้องการเพิ่มจากปกติอีก 400 มก./วัน ในวัยหมดประจำเดือนจนกระทั่งวัยสูงอายุในขณะนี้มีแนวโน้มต้องการถึง 1500 มก./วัน
          การใช้แคลเซียม
          
การใช้แคลเซียมในรูปยาเม็ดแต่ละ prepatation จะให้ธาตุแคลเซียมไม่เท่ากัน เช่น
            - Ca lactate ให้ธาตุแคลเซียมได้ 13%
            - Ca gluconate ให้ธาตุแคลเซียมได้ 13%
            - Ca carbonate ให้ธาตุแคลเซียมได้ 13%

 

1. http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-5754.html
2. http://www.healthdd.com/article/article_preview.php?id=41

<< Go Back