ระบบกระดูกและข้อ
ร่างกายของมนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่จะประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้นแบ่งเป็น กระดูกแกน 80 ชิ้น เช่น กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกก้นกบ กระดูกซี่โครง อีกพวกหนึ่ง คือ กระดูกรยางค์ จำนวน 126 ชิ้น เช่น กระดูกแขนขา สะบัก ไหปลาร้า เชิงกราน
ความสำคัญของกระดูก
โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
- ทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้
- ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ ปอด ตับ
- เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อ การที่เราเคลื่อนไหวได้เป็นผลมาจากการหดตัวและคลายตัว ของกล้ามเนื้อ ที่ยึดติดกับกระดูก
เมื่อศึกษาถึงโครงสร้างของกระดูกแล้วพบว่า กระดูกของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งประกอบด้วยเซลล์กระดูกอ่อน สารระหว่างเซลล์และเส้นใยชนิดต่าง ๆ โดยทั่วไปกระดูก
อ่อนจะได้รับอาหารโดยแทรกซึมผ่านสารระหว่างเซลล์มา เนื่องจากไม่มีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงกระดูกอ่อนเลย
2. กระดูก (Bone) เป็นโครงสร้างที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Membrane Bone) หรือกระดูกอ่อน (Cartilagenous Bone) ก็ได้ ประกอบ
ด้วยเซลล์กระดูก (Osteocyte) เส้นใยชนิดต่าง ๆ และสารระหว่างเซลล์ ซึ่งมีผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Hydroxyapatite ; Ca10(PO4)6(OH)2)
มาเสริมทำให้กระดูกมีความแข็งแรงมากกว่ากระดูกอ่อน เมื่อผ่ากระดูกดูโครงสร้างภายในจะพบว่าเนื้อกระดูกส่วนนอกจะแน่นทึบ (Compact Bone) อาหารไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปเลี้ยงเซลล์กระดูกได้บริเวณนี้จึงมีหลอดเลือดแทรกเข้าไปทางช่องสารระหว่างเซลล์ ซึ่งเรียกว่า ช่องว่างฮาร์เวอร์เซียน(Haversian Canal) โดยจะทอดไปตามความยาวของกระดูก ส่วนตรงกลางของกระดูกนั้นจะมีลักษณะโปร่งเป็นโพรงคล้ายฟองน้ำ (Spongy Bone) ซึ่งเป็นที่อยู่ของไขกระดูก (Bone Marrow) ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวให้แก่ร่างกาย
โครงกระดูกของมนุษย์ดังกล่าวมาแล้ว จะเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อซึ่งจะทำให้ร่างกายของมนุษย์เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จากการศึกษาพบว่า ข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแต่ละชิ้นในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (Immoveable Joint)
เป็นข้อต่อที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกเอาไว้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย เช่น ข้อต่อกะโหลกศีรษะที่เรียกว่า Suture เป็นต้น
2. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (Movable Joint)
เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแล้วทำให้เคลื่อนไหวได้ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ข้อต่อที่ทำให้เคลื่อไหวเพียงทิศทางเดียวเหมือนบานพับ (Hinge) พบที่ข้อต่อกระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนข้อต่อที่ทำให้เคลื่อนไหวได้อิสระหลายทิศทาง เนื่องจากมีการเชื่อมต่อของกระดูกคล้ายลูกกลมใบเบ้า (Ball and Socket) พบที่ข้อต่อของหัวไหล่และตะโพก สำหรับข้อต่อที่ต้นคอกับฐานของกะโหลกศีรษะนั้นเป็นข้อต่อทีมีเดือยสวมประกบกัน (Pivotal) ทำให้
สามารถก้มเงยและบิดไปซ้ายขวาได้ ส่วนข้อต่อที่ข้อมือนั้นก็หมุนได้หลายทิศทางเช่นกัน แต่เป็นข้อต่อแบบที่เรียกกว่า Gliding
จากการศึกษาพบว่าบริเวณข้อต่อจะมีการสร้างของเหลวเป็นเมือกคล้ายไข่ขาวหล่อลื่นอยู่ เพื่อไม่ให้กระดูกเสียดสีกันและทำให้เคลื่อนไหว
ได้สะดวก นอกจากนี้บริเวณข้อต่อยังมีเส้นเอ็น (Tendon) หรือลิกาเมนต์ (Ligament) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวแน่นและทนทานช่วยยึดกระดูกไว้อีกด้วย
|