<< Go Back


ความหมายของคำว่า "ความรุนแรง"
     โดยทั่วๆ ไป ความรุนแรงก็คือการทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเกิดจากธรรมชาติ อุบัติเหตุหรือจากน้ำมือมนุษย์ก็ได้ ส่วนในอีกความหมายหนึ่ง ความรุนแรงคือสิ่งที่มาสกัดกั้นศักยภาพของชีวิต สมมุติว่ามีหญิงสาวคน หนึ่ง เดินกลับบ้าน ระหว่างทางมีผู้ร้ายดักชิงทรัพย์แล้วฆ่า ก็หมายความว่าหากไม่เกิดเหตุความรุนแรงนี้ หญิงสาวคนนั้น ก็จะยังมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตได้ต่อไป

     นอกจากความรุนแรงจะสกัดกั้นศักยภาพชีวิตอย่างที่มันเป็นอยู่ (หากหญิงสาวผู้นั้นไม่ถูกฆ่า เธอก็ยังคงไปทำงานได้ตามปกติ) แล้ว ความ รุนแรงยังสกัดกั้นศักยภาพชีวิตในอีกแง่หนึ่งด้วย กล่าวคือศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่เดิม เช่น สมมุติหญิงสาวคน นั้นกำลังจะเรียนต่อและเธอรอดตายอย่างปาฏิหาริย์แต่กลายเป็น เจ้าหญิงนิทรา ศักยภาพด้านการศึกษาของเธอที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ก็ถูกสกัดจนต้องสะดุดหยุดลง
ความรุนแรง ความขัดแย้งและอำนาจ
     คน ส่วนใหญ่มักคิดว่าความรุนแรงเป็นเรื่องเดียวกับความขัดแย้งและอำนาจ  แต่ในความเข้าใจของผม ความรุนแรงไม่ใช่อำนาจ ไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่เป็นจุดจบของสิ่งเหล่านั้น
     ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ  เมื่อผู้คนที่มาอยู่ร่วมกันในสังคมมีความปรารถนาที่แตกต่างกัน  ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งได้เป็น เรื่องธรรมดา ซึ่งบางครั้งมนุษย์เลือกใช้ความรุนแรงมายุติความขัดแย้ง เป็นเหตุให้เกิดความคิดว่าความรุนแรงคือความขัดแย้ง หรือหนัก กว่านั้นคือเกิดความเข้าใจว่าความรุนแรงเป็นเรื่องธรรมชาติไปด้วย  จึงอยากชี้ให้เห็นความแตกต่างที่สำคัญว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ความรุนแรงไม่ใช่ เพราะความขัดแย้งอาจคลี่คลายลงด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช้ความรุนแรงได้
     ในทำนองเดียวกัน ความรุนแรงก็ไม่ใช่เรื่องเดียวกับอำนาจ  หากอำนาจหมายถึงความสามารถที่จะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งทำตามความต้องการของเราได้  อำนาจก็ไม่จำเป็นต้องได้มาจากความรุนแรง เช่น ความรักก็เป็นพลังอำนาจแบบหนึ่ง เป็นแรงผลักดันที่จะทำให้เรา ยอมเสียสละบางอย่างเพื่อคนที่เรารัก (ดูได้จากเวลาที่สังคมต้องการให้เราทำอะไรสักอย่าง ก็มักอ้างในนามของความรักต่อ... เพราะเชื่อ ว่าจะ นำไปสู่สิ่งที่ต้องการได้ เป็นต้น) 
    คิดว่าความรุนแรงเป็นจุดจบของอำนาจเสียด้วยซ้ำ เพราะการต้องใช้ความรุนแรงบังคับนั้น  มักหมายความว่าเราไม่มีอำนาจ (หมดความสามารถที่จะทำให้อีกฝ่ายทำตามความต้องการของเราได้) แล้ว


ฐานคิด เรื่องความรุนแรง

เพื่อทำความเข้าใจฐานคิดเรื่องความรุนแรง ผมจะอธิบายโดยอาศัยตัวแบบในทางภาษาซึ่ง

ประกอบด้วยประธาน กริยาและกรรม เช่น นาย กฆ่านางสาว ขสามารถแยกได้ ตามตัวแบบคือ นาย

เป็นประธาน ฆ่าเป็นกริยา และกรรมคือนางสาว ขคำถามต่อไปก็คือ

1) ประธานมีหรือเป็นอะไรได้บ้าง

2) กริยาของความรุนแรงทำงานอย่างไร

3) ตัวกรรมนั้นได้รับผลอะไรได้ 


ความรุนแรงในสังคมไทย
        การกระทำรุนแรงในสังคมไทยเกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ กัน ความรุนแรงบางอย่างเป็นผลมาจากความคิดความ เชื่อของคน ในสังคมที่กระทำระหว่าง กัน บางอย่างเกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติของคนในสังคม บางอย่างเป็นความรุนแรงที่กระทำระหว่าง คนใกล้ชิด และบางอย่างเป็นภัยทางสังคมซึ่งพบเห็นได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน การกระทำรุนแรงอันเกิดจากความคิดความเชื่อของคนในสังคม เป็นสิ่งละเอียดอ่อน บางอย่างแฝงมากับความเชื่อในรูปแบบของค่านิยม  หรือสืบทอดผ่านทางวัฒนธรรมประเพณีในแต่ละสังคม จนเกิดการยอมรับ และมักมองข้ามลักษณะความรุนแรงที่ปรากฏ เช่น การนิยมเจาะหูให้แก่ลูกผู้หญิง การนิยมมีรอยสักแก่ผิวหนัง ของตนเอง สิ่งเหล่านี้ในสังคมมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ทั้ง  ที่เป็นความรุนแรงที่กระทำขึ้นระหว่างแม่ต่อลูกหรือกระทำกับตนเอง 
        การกระทำรุนแรงระหว่างกันตามความเชื่อของไทยโดยทั่วไป  แม้จะไม่รุนแรงถึงขนาดทุบตีและยิงทิ้งกันต่อหน้าต่อตาผู้อื่น  อันเนื่องมาจากการ ฝ่าฝืนกฎ หรือลวงมาฆ่าหมู่อย่างลัทธิบางลัทธิในภูมิภาคอื่นๆ ของโลก แต่ความเชื่อบางอย่างในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย ก็มีลักษณะการกระทำรุนแรงจากผลของความเชื่อมิใช่น้อย ในอดีตเวลาก่อสร้างเจดีย์หรือพระธาตุบางแห่งต้องฝังคนเป็นๆ ข้างใต้แท่น ฐาน หรือบางแห่งมีวิธีการรักษาคนเป็นโรคจิตด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์ มีการไล่ผีให้ออกจากตัวโดยการเฆี่ยนตีหรือราด ด้วย น้ำร้อน บางแห่งมีพิธีเลี้ยงผีอารักษ์เมือง  และมีการฆ่าสัตว์สังเวยแสดงความรุนแรง หรือตัวอย่างการขับไล่ผู้สงสัยว่าเป็น ผีปอบไปอยู่นอก เมืองหรือที่ห่างไกลผู้ คน ใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น ขว้างปา รุมทำร้าย หรือรื้อถอนบ้าน ซึ่งเกิดผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งร่างกายและจิตใจ
        การกระทำรุนแรงที่เกิดจากภาวะจิตใจที่ผิดปกติ การกระทำรุนแรงเช่นนี้มักเกิดจากคนที่มีจิตใจไม่ปกติซึ่งปะปนอยู่ในสังคม มีทั้ง ที่เราสังเกตเห็นและไม่เห็น ระดับความรุนแรง  ขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของภาวะจิตใจ เช่น คนเป็นโรคจิตประเภทคลั่งสลับซึม ที่ก่อ เหตุทำร้ายแก่คนรอบข้างหรือคนในครอบครัวจนเป็นข่าวให้เห็นอยู่เสมอ คนที่คับข้องใจและแสดงความก้าวร้าวต่อภาวะ คับข้องใจ ด้วยการกระทำรุนแรงต่อตน เองโดยการฆ่าตัวตายในสังคมไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่าคนไทยใช้วิธีฆ่า ตัวตาย โดยการกินยามากถึง 70 % รองลงมาคือแทงตัวเอง กระโดดจากที่สูง ยิงตัวตายและผูกคอตาย นอกจากนั้นยังมีการกระทำรุนแรง อันเกิดจาก ภาวะจิตใจที่ผิดปกติให้เห็นอีกมาก มาย เช่น คนเป็นเอดส์แพร่เชื้อโดยใช้เข็มวิ่งไล่แทงคนอื่น คนวิปริตทางเพศโชว์อวัยวะ เพศต่อ หน้าดารา ที่ตนคลั่งไคล้จนเกิดความหวาดกลัว เป็นต้น 
        การกระทำรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างคนใกล้ชิด ปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขั้นส่วนใหญ่จะเกิด ในครอบ ครัว โรงเรียน หรือชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกัน ลักษณะความรุนแรงมีตั้งแต่ดุด่าด้วยถ้อยคำ ลงโทษด้วยวิธีการแปลก ๆ ทำร้ายร่างกาย และคุกคามทางเพศ ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กและผู้หญิง

รูปแบบความรุนแรงแบบ physiology

        ในแบบ physiology หรือว่าการทำให้ร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกตินั้น ก็สามารถทำได้หลายวิธี  ที่สำคัญ สิ่งเหล่านี้เป็นความ รุนแรงที่แทบจะมองไม่เห็นเลยได้ แก่ การไม่ให้อาหาร เช่น การสร้างเขื่อนของประเทศจีนทำให้สามารถควบคุมการ ไหลของแม่น้ำโขง ส่งผลต่อการมีหรือไม่มีน้ำใช้ในประเทศแถบลุ่มน้ำโขง

        ตอนล่างทั้งหมด หรือการทำให้เป็นพิษ เช่นโรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำการทำให้อากาศเสีย (เช่น การที่อุตสาหกรรม ที่แม่เมาะปล่อยควันพิษจนทำให้ชาวบ้านมีปริมาณตะกั่วในปอดสะสมมากผิดปกติเช่น การขายยาด้วยราคาสูงเกินกว่าที่จะ ซื้อหามา รักษา หรือการที่อเมริกาแซงก์ชั่นอิรักด้วยการไม่ให้ยาที่ส่งผลให้เด็กที่ป่วยใน อิรักล้มตายจำนวนมาก

สถานการณ์การกระทำรุนแรง
        จากการศึกษาวิจัยได้พบข้อมูลของการกระทำรุนแรงระหว่างคนใกล้ชิด  ที่น่าสนใจหลายประการ เช่น การข่มขืนผู้หญิงส่วนใหญ่ เกิดกับวัยผู้ใหญ่คืออายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเวลา 18.00 – 24.00 น.  ส่วนใหญ่เกิดเหตุในโรงแรมและเป็นการกระทำของญาติหรือเพื่อนสนิท โดยมักมีการดื่มสุราก่อนก่อเหตุเสมอ สำหรับการละเมิดทางเพศในโรงเรียน เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศส่วนใหญ่มาจาก ครอบ ครัวที่ไม่อบอุ่นหรือแตกแยก และครอบครัวใหม่ไม่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยทางโรงเรียนไม่มีกฎระเบียบและวิธีการ จัดการ เรียนการสอนหรือมีความร่วมมือ กับผู้ปกครองในการป้องกันปัญหา  แม้แต่ในครอบครัวเองก็เกิดความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดู โดย เด็กจะได้รับการเลี้ยงดูด้วยวิธีการที่รุนแรงในด้านจิตใจและร่างกาย  ที่น่าสนใจคือผลการวิจัยพบว่าเกิดการรับรู้ที่ต่างกันระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง กล่าวคือเด็กจะรับรู้ว่าถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีการรุนแรงมากกว่าผู้ปกครอง  ที่รับรู้ว่าได้กระทำรุนแรงกับเด็ก และผู้หญิงที่ถูกกระทำ รุนแรงในครอบครัวจะถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจมากที่สุด  รองลงมาคือทางเพศและทางร่างกาย ส่วนใหญ่ถูกกระทำโดยสามี

ผลกระทบต่อสังคม

1.ปัญหาการเกิดอาชญากรรม

2.ปัญหาเด็กแร่ร่อน

3.ปัญหาด้านการศึกษา

4.ปัญหาเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อครอบครัว

1.ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ครอบครัวได้

2.การหย่าร้างมีมากขึ้นส่งผลกระทบต่อลูก

ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ

1.ด้านจิตใจ

2.ด้านพฤติกรรม

3.ด้านการกระทำ

ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม

1.ปัญหาในสังคมเพิ่มมากขึ้น

2.สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่ไม่ปลอดภัย

3.ภาระต่อสังคม/ต่อการพัฒนาประเทศ

หน่วยงานที่รับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือ

1.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2.สำนักงานกิจการสตรีและครอบครัว

3.กรมสนับสนุนและบริการสุขภาพ  กระทรวงสาธารสุข

4.ศูนย์ช่วยเหลือเด็กสตรีในภาวะวิกฤติจากความรุนแรงหรือศูนย์พึ่งได้

5.กระทรวงศึกษาธิการ

6.กระทรวงแรงงาน

7.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

8.กระทรวงยุติธรรม

ที่มา - http://ailadaluamsri1.blogspot.com/

 

<< Go Back