<< Go Back  

             จากผลการตรวจหาอายุเดิมด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียระบุว่า ภาชนะดินเผาลายเขียนสีบ้านเชียงมีอายุ 7,000-5,000 ปีมาแล้ว รวมทั้งผลการตรวจหาอายุที่มหาวิทยาลัยนารา ประเทศญี่ปุ่น ก็ได้รับผลว่ามีอายุราว 6,400 ปีมาแล้วเช่นกัน

แต่จากการศึกษาวิเคราะห์เพิ่มเติมในภายหลัง ทำให้ได้ข้อมูลใหม่ว่า ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงที่บ้านเชียง มีอายุราว 2,300-1,800 ปีมาแล้วเท่านั้น (คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่มีการใช้เหล็กทำเครื่องมือเครื่องใช้แพร่หลาย และมีเครื่องประดับที่ทำด้วยสำริดประณีตและซับซ้อนมากขึ้นแล้ว)

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เป็นเครื่องปั้นดินเผาของไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ขุดพบได้ที่หมู่บ้านบ้านเชียง จ.อุดรธานี แบ่งออกเป็น 3 สมัย

1.เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงสมัยต้น (อายุประมาณ 5,600 – 3,000 ปี)
          เป็นภาชนะดินเผาสีดำ ตกแต่งด้วยลายขูดขีดและลายเชือกทาบ รูปทรงมักเป็น หม้อก้นกลม ปากผายกว้างเชิงสูง มีทั้งชนิดปลาย สอบเข้าและผายออก

bce


2.ครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงสมัยกลาง (อายุประมาณ 3,000 – 2,300 ปี) 
          ภาชนะส่วนใหญ่มีเนื้อดินสีขาวนวล ไหล่ลู่ ลำตัวกลมและหักเป็นสัน ก้นภาชนะ มีทั้งกลมและแหลม มักไม่มีการตกแต่งลวดลาย แต่บางชิ้นมีการตกแต่งด้วยลายขูดขีด และเขียนลวดลายสีแดงที่บริเวณไหล่ของภาชนะ

Ban_Chiang_Pottery-Early-04-R25

3.เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงสมัยปลาย (อายุประมาณ 2,300 – 1,800 ปี)
           รูปทรงของภาชนะมีทั้งชนิดก้นกลมและชนิด มีเชิงสูง ปลายผาย ขอบปากมีสัน มีการตกแต่งด้วยการเขียนลวดลายสีแดง สีที่ใช้เขียนเรียกว่า “สีดินเทศ” ลวดลาย ที่เขียนส่วนใหญ่เป็น ลายเรขาคณิต ลายสี่เหลี่ยม ลายวงกลม ลายก้านขด ลายก้นหอย

2012020925

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซน ประเทศสหรัฐอเมริกา

“เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง”เป็นโบราณซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติสาสตร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักฐานชั้นต้น ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากว่าเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของมนูษย์เคยสร้างขึ้น ส่วนรายละเอียดต่างๆจะแน่ชัดหรือถูกต้องเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับวิธีการทางวิทยาสาสตร์ด้วย

https://ratchaneenaka.wordpress.com/เครื่องปั้นดินเผาบ้านเ/

    << Go Back