อักษรขอม ที่ใช้จารในใบลานที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 2 แบบ คือ
อักษรขอมบรรจง ส่วนมากใช้จารพระธรรมคำสอนต่างๆ
อักษรขอมหวัดบันทึก เพื่อความรวดเร็วเรียกกันว่า อักษรเกษียณ
ลักษณะอักษรขอมที่นิยมจารลงในใบลานมีอยู่ 3 ลักษณะ 3 ส่วน คือ ตัวอักษรหนามเตย และเชิงอักษรขอมทุกตัว จะมีเครื่องหมายเขียนหยักไว้ข้างบนที่เรียกว่า หนามเตย
หนามเตยโดยปกติแล้วจะเขียนติดกับสระ ยกเว้นตัวที่เขียนประสมกับสระอา อิ อี ส่วนเชิงอักษรนั้นเป็นเครื่องหมายแทนตัวอักษรที่เป็นตัวตาม ตัวสะกดจะเขียนไว้ข้างบนเชิงที่เป็นตามนั้นจะเขียนไว้ข้างล่างถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาบาลี แต่ถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาไทยเชิงอาจเป็นตัวสะกด ซึ่งจะแนะนำวิธีการเขียนอักษรขอมต่อไป
อักษรขอมมี 41 ตัว แบ่งเป็น สระ 8 ตัว พยัญชนะ 33 ตัว
1. สระ มีการเขียน 2 แบบ คือ สระจมและสระลอย
สระลอย คือ สระที่ไม่ได้ประสมกับพยัญชนะ ใช้เขียนขึ้นต้นคำที่มีสระนำหน้า สระลอยมีรูปดังนี้
สระจม คือ สระที่ใช้ประสมกับพยัญชนะ มีลักษระดังนี้
2. พยัญชนะที่เขียนเป็นภาษาบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เป็นเศษวรรคอีก 8 ตัว ดังนี้
ตั้งแต่โบราณมา การเรียนอักษรโบราณอีสาน ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรธรรม บทปัญญาบารมี เป็นบทใช้สอนฝึกหัดอ่านเขียน และถือว่าถ้าใครสามารถอ่านเขียนปัญญาบารมีได้แล้วถือว่ามีความรู้เรื่องอักษรโบราณแล้ว ครูผู้สอนจะให้หาประสบการณ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป
http://www.isangate.com/word/khom.html
|