ที่มา : http://www.kme10.com/mo4y2552/mo403/noname19.htm
ไนโตรเจนเป็นอโลหะหมู่ที่ VA พบมากในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในรูปของธาตุอิสระ คือ (N2) พบในอากาศ ในอากาศมี N2 อยู่ประมาณร้อยละ 78.09 โดยปริมาตร ในรูปของสารประกอบพบในกรดอะมิโนโปรตีน แอมโมเนีย (NH3) สารประกอบไนเตรตต่าง ๆ เช่นโพแทสเซียมไนเตรต (KNO3) แอมโมเนียมไนเตรต(NH4NO3) ก๊าซไนโตรเจนเตรียมได้จากอากาศ โดยนำอากาศสะอาดและแยกก๊าซ CO2 ไอน้ำออกแล้วมาเพิ่มความดัน ลดอุณหภูมิก๊าซออกซิเจนจะเป็นของเหลวก่อนที่อุณหภูมิ -183 C แยกออกซิเจนเหลวออกเมื่อเพิ่มความดันขึ้นอีก และลดอุณหภูมิ ถึง -196 C ก๊าซไนโตรเจนจะกลายเป็นของเหลว แยกก๊าซอื่น ๆ ออกก็จะได้ไนโตรเจนเหลว เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น และความดันลดลงก็จะกลายเป็นก๊าซไนโตรเจน
ประโยชน์
ไนโตรเจนเหลวซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมาก (-196 C) ใช้สำหรับแช่แข็งอาหารประเภทต่าง ๆ แช่แข็งเลือด เซลล์ไขกระดูกหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาใช้เตรียมก๊าซแอมโมเนีย (NH3) และกรดไนตริก (NHO3) ก๊าซแอมโมเนียที่ได้ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2) ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต (NH4) 2SO4) ปุ๋ยแอมโมเนียไนเตรต (NH4NO3) และใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซดาแอชหรือโซเดียมคาร์บอเนต(Na2CO3) ส่วนกรดไนตริกใช้ในอุตสาหกรรมทำสี ไหมเทียมทำวัตถุระเบิด ทำปุ๋ยไนเตรต เป็นต้น นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นองค์ประกอบของสารอาหาร ที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตอีกด้วยคือเป็นองค์ประกอบในโปรตีนทุกชนิด
ที่มา : http://www.kme10.com/mo4y2552/mo403/noname19.htm
วัฏจักรไนโตรเจนเป็นดังนี้
1. การตรึงไนโตรเจนโดยปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดจากฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือปรากฏการณ์ อื่นที่ทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้ก๊าซไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน ได้ก๊าซ NO และก๊าซ NO ที่ เกิดขึ้นทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน ต่อไปได้ก๊าซ NO2
N2 (g) + O2 (g) ----> 2NO(g) ดูดพลังงาน 180.6 kJ
2NO(g) + O2 (g) -----> 2NO2 (g) คายพลังงาน 114.2 kJ
เมื่อฝนตกก๊าซ NOv จะทำปฏิกิริยากับน้ำฝนกลายเป็นกรดไนตริกดังสมการ
3NO2 (g) + H2O(I) -----> 2HNO23(aq) + NO(g)(กรดไนตริก)
2H+(aq) + NO-3(aq)
กรดไนตริกแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) และไนเตรตไอออน (NO-3) ไนเตรตไอออนที่เกิดขึ้น จะตกลงสู่พื้นดินและพื้นน้ำ พืชนำไปใช้สร้างโปรตีนต่อไป
**NO2 ส่วนหนึ่งในบรรยากาศได้จากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์
2. การตรึง N2 ทางอุตสาหกรรม โรงงานผลิตก๊าซแอมโมเนีย (NH3) หรือโรงงานผลิตปุ๋ยได้มีการ ใช้ก๊าซ N2 (แยกจากอากาศ) ทำปฏิกิริยากับก๊าซ H2 โดยวิธีกระบวนการณ์ฮาเบอร์ดังสมการ
N2 (g) + 3H2(g) -----> 2NH3(g)
ก๊าซ NH3 ที่ได้ส่วนหนึ่งนำไปผลิตปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียและปุ๋ยที่อยู่ในรูปของเกลือแอมโมเนีย เช่น แอมโมเนียซัลเฟต เมื่อใส่ปุ๋ยลงในดินแบคทีเรีย (Decomposing bacteria) ย่อยสลายไปเป็น ไนเตรต (NO-3) พืชดูดซึมเอาไปใช้ในการสร้างโปรตีน
3. การตรึงก๊าซไนโตรเจนทางชีววิทยา แบคทีเรียไนโซเบียมในปมรากถั่วจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศ จึงเรียกไรโซเบียมว่า Nitrogen fixing bacteria และเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนเป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4+) จากนั้นแบคทีเรียในดิน (Nitrifying bacteria) ทำหน้าที่เปลี่ยน NH4+เป็นสารประกอบไนไตรต์ (NO2- ) และเปลี่ยนสารประกอบไนไตรต์ (NO2-) เป็นสารประกอบไนเตรต (NO3-) ซึ่งพืชดูดซึมนำไปใช้ในการสร้างโปรตีนต่อไป สัตว์กินพืช สัตว์ก็จะนำไปใช้ในการสร้างโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลง ซากพืชซากสัตว์และสิ่งขับถ่ายจะถูกแบคทีเรีย (Decomposing becteria) ย่อยสลายเป็นสารประกอบไนเตรต (NO3-) ต่อไป
4. แบคทีเรีย (Denitrifying bacteria) ทำหน้าที่เปลี่ยนสารประกอบไนเตรต (NO3-) เป็น สารประกอบไนไตรต์ (NO2-) ไดไนโตรเจนมอนอกไซด์(N2O) และในที่สุดกลายเป็นก๊าซไนโตรเจนกลับคืนสู่บรรยากาศ
http://www.kme10.com/mo4y2552/mo403/noname19.htm
|