<< Go Back

ประเด็นสำคัญของความหมายของคำว่าศรัทธา ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ในแต่ละพระสูตรล้วนตรงกันคือ "เชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคต" อย่างไรก็ตาม ลักษณะศรัทธาที่ประกอบด้วยเหตุผลและปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนานั้น จำแนกศรัทธาออกเป็น 4 ประเภทคือ
1) กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม
2) วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม
3) กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
4) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาการตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า (พระพุทธเจ้า)

กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หมายความว่า กรรมใดใครเป็นผู้กระทำ ผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผล จะรับผลแทนกันไม่ได้ หรือจะรับผลแต่กรรมดี แล้วโยนผลกรรมชั่วให้แก่คนอื่น ก็ไม่ได้, เป็นเรื่องเฉพาะตน โยนให้คนอื่นไม่ได้ แต่เพราะเหตุว่า ตนต้องรับผลของการกระทำนั้น จึงชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของของตน

ดังพระพุทธองค์ตรัสไวว่า...สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์



http://variety.thaiza.com/หลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา/217725/
http://www.pantown.com/board.php?id=30284&area=3&name=board7&topic=30&action=view

<< Go Back