<< Go Back

      ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำ และสำเนียง ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก เช่นภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงฃลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น
           ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป                        
         ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียนภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษา นั้นอาศัยอยู่ในภาค ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ
     - ภาษาถิ่นกลาง
     - ภาษาถิ่นเหนือ
     - ภาษาถิ่นอีสาน
     - ภาษาถิ่นใต้


ตัวอย่างการพูดภาษาถิ่น
ที่มารูปภาพ : http://www.sahavicha.com/?name=media&file=readmedia&id=2347


http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-2.html

<< Go Back