ชนิดของวลี
      ชนิดของวลีตามแนวหลักภาษาเดิม มี ๗ ชนิดดังนี้
๑.๑ นามวลี หมายถึง วลีที่มีคำนามนำหน้า เช่น ถนนสายหนึ่ง พระรูปที่ ๕ จังหวัดนครพนม นาฬิกาข้อมือเรือนทอง ชาวเมืองสกลนคร อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์

๑.๒ สรรพนามวลี หมายถึง วลีที่มีคำสรรพนามนำหน้า หรือ วลีที่ทำหน้าที่เป็นคำสรรพนาม เช่น
ข้าพเจ้า ข้าพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า ใต้เท้า ใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระองค์ ท้าวเธอ

๑.๓ กริยาวลี หมายถึง วลีที่มีคำนำหน้า โยมีความหมายเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น
นั่งร้องเพลง ทำงานหนัก เป็นหนังหน้าไฟ หวังแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว ถึงแก่กรรม เสด็จสวรรคาลัยสุรโลก

๑.๔ วิเศษณ์วลี หมายถึง วลีที่มีคำวิเศษณ์นำหน้า และทำหน้าที่ประกอบคำอื่นอย่างเดียวกับคำวิเศษณ์อาจประกอบนาม ขยายกริยา ขยายวิเศษณ์ด้วยกันเองก็ได้ เช่น
           ช้างสามเชือก (ขยายนาม)
           เราสามคน (ขยายสรรพนาม)
           เขากินข้าวจุเหลือประมาณ (ขยายกริยา)
           เขาคงงามเลิศเหลือประมาณ (ขยายวิเศษณ์ซึ่งทำหน้าที่เป็นกริยา)

๑.๕ บุพบทวลี หมายถึง วลีที่มีคำบุพบทอยู่หน้าคำอื่น อาจอยู่หน้าคำอื่น อาจอยู่หน้าคำนาม สรรพนามหรือกริยา สภาวมาลา เช่น
           ข้าแต่สมาชิกทั้งหลาย (นำหน้านาม)
           ข้าแต่ท่านทั้งหลาย (นำหน้าสรรพนาม)
           เพื่อชมเล่น (นำหน้ากริยาสภาวมาลา)

๑.๖ สันธานวลี หมายถึง วลีที่ทำหน้าที่เป็นคำสันธาน คือทำหน้าที่เชื่อมคำ เชื่อมความ เชื่อมประโยค เช่น
           เขามีความรักในลูกและเมีย
           ถึงฝนตกฉันก็จะไป
           เพราะฉะนั้น เขา จึง ต้องไปหาหมอ
           กรณีคำสันธานที่แยกออกจากกัน เพื่อเชื่อมความให้ติดต่อกัน เรียกว่า สันธานคาบเกี่ยว

๑.๗ อุทานวลี หมายถึง วลีที่ใช้เป็นคำอุทาน จะมีคำอุทานนำหน้าหรือไม่ก็ได้ เช่น
           โอ้อกเอ๋ย โอ๊ยตายแล้ว โอพระเวสสันดร
           เวรเอ๋ยเวร อนิจจาความรักเอ๋ย

 

https://krupasathaipanmai1920.wordpress.com/2009/09/09/มารู้จักวลีกับประโยคกั/