อักษรสูง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงสูงทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน เช่น อักษรสูงมีทั้งหมด 11 ตัว ได้แก่ ข, ฃ (เลิกใช้), ฉ, ฐ, ถ, ผ, ฝ, ศ, ษ, ส, และ ห

     
           อักษรสูง พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น  
      
               คำเป็นที่ใช้อักษรสูงเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขาว ฉัน ถู ผี ไฝ เสือ หู ฯลฯ
              เมื่อผันด้วยไม้เอก จะมีเสียงเอก เช่น ขู่ ขี่ ฉี่ ถ่อม ผ่อน ใฝ่ เสื่อ โห่ ฯลฯ
              เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น ไข้ ถ้า ผู้ ฝ้าย เสื้อ ห้า ฯลฯ
              ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้ตรีและไม้จัตวา

       
                คำตายที่ใช้อักษรสูงเป็นพยัญชนะต้น จะมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ขบ ขด ขัด ฉุด ถัก ผัก ฝึก สด หาด ฯลฯ
                เมื่อผันด้วยไม้โท จะมีเสียงโท เช่น ข้ะ ข้าก ฯลฯ ปัจจุบันไม่ปรากฏการเติมไม้โทกับคำตายที่เป็นอักษรสูง
                ตามหลักภาษา ไม่สามารถผันด้วยไม้เอก ไม้ตรี และไม้จัตวา
                แต่ถ้าเป็นคำตาย จะผันได้แค่ ๒ เสียง คือ เสียงเอก และเสียงโท เช่น

 

  

         http://th.wikibooks.org/wiki/ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/วรรณยุกต์และการผันอักษร
         http://th.wikipedia.org/wiki/อักษรสูง