พยัญชนะ คือ ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่นๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว
      พยัญชนะไทย คือ ตัวอักษร หรือ ตัวหนังสือ (สำหรับภาษาอื่นอาจนิยามรวมไปถึง รูปร่างลักษณะ และ สัญลักษณ์) พยัญชนะไทย มีทั้งหมด 44 ตัว ได้แก่

                            ก  ข  ฃ  ค  ฅ  ฆ   ง  จ  ฉ  ช

                            ซ  ฌ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ  ณ  ด

                             ต  ถ  ท  ธ  น  บ  ป  ผ  ฝ  พ

                             ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ศ  ษ  ส

                             ห  ฬ  อ  ฮ

         พยัญชนะไทย แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ รูปพยัญชนะ และ เสียงพยัญชนะ
         พยัญชนะไทย มี ๔๔ รูป แต่มีเสียงเพียง ๒๑ เสียง เพราะบางรูปจะมีเสียงซ้ำกันดังนี้
       

   
พยัญชนะหลัก พยัญชนะซ้ำ เสียงที่ออกใกล้กัน
 ก  ก  กอ
 ค  ข ฃ ค ฅ ฆ  ขอ หรือ คอ
 ง  ง  งอ
 จ  จ  จอ
 ช  ช  ฌ  ฉ  ชอ
 ซ  ซ  ส  ศ  ษ  ซอ หรือ สอ
 ด  ด  ฎ  (ฑ)ในบางคำ  ดอ
 ต  ต  ฎ  ตอ
 ท  ท  ธ  ฑ  ฒ  ถ  ฐ  ทอ
 น  น  ณ  นอ
 บ  บ  บอ
 ป  ป  ปอ
 พ  พ  ภ  ผ  พอ หรือ ผอ
 ฟ  ฟ  ฝ  ฟอ หรือ ฝอ
 ม  ม  มอ
 ย  ย  ญ  ยอ
 ร  ร  รอ (กระดกลิ้น)
 ล  ล ฬ  ลอ (ไม่กระดกลิ้น)
 ว  ว  วอ
 ฮ  ฮ  ห  ฮอ หรือ หอ
 อ  อ  ออ

        พยัญชนะ ทั้ง ๔๔ รูป แบ่งออกเป็น ๓ หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ได้แก่

           ๑. อักษรกลาง คือพยัญชนะที่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบทั้ง ๕ เสียง มีทั้งหมด ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
           ๒. อักษรสูง คือพยัญชนะที่ ผันได้ไม่ครบทั้ง ๕ เสียง มี ๑๑ ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
           ๓. อักษรต่ำ คือ พยัญชนะที่ผันได้ไม่ครบ ๕ เสียง มีทั้งหมด ๒๔ ตัว โดยแบ่งเป็น ๒ พวกคือ
                 - อักษรต่ำคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ
                 - อักษรต่ำเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่มีเสียงต่างกับอักษรสูง มี ๑๐ ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ฬ ว
      การแบ่งพยัญชนะออกเป็น ไตรยางศ์ หรือ อักษร ๓ หมู่ เพื่อเป็น ประโยชน์และง่ายแก่การผันเสียงวรรณยุกต์

    
          ๑. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียง สามารถอยู่ต้นพยางค์ หรือ ต้นคำได้ทั้งหมด
       พยัญชนะต้นแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ
             ๑.๑ พยัญชนะต้นตัวเดียว ( พยัญชนะต้นเดี่ยว ) หมายถึง พยางค์หรือคำที่มีพยัญชนะต้นเพียงตัวเดียว เช่น ก้อย รัก โดม มาก จะมี ก , ร , ด , ม, เป็นพยัญชนะต้น
              ๑.๒ พยัญชนะต้นสองตัว ( พยัญชนะต้นคู่ ) หมายถึงพยางค์หรือคำที่มีพยัญชนะ ต้น ๒ ตัว แบ่งเป็น
                      ๑.๒.๑ อักษรควบ หมายถึงพยางค์หรือคำ ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวควบกัน ( ตัวที่มาควบได้แก่ ร , ล , ว ) แบ่งเป็น
                         - อักษรควบแท้ คือ พยางค์ หรือ คำ ที่มีพยัญชนะ ๒ ตัวเป็นพยัญชนะต้น ตัวหลังเป็น เป็น ร , ล หรือ ว ประสมด้วยสระเดียวกันอ่านออกเสียง พร้อมกันทั้ง ๒ ตัว เช่น ครู กวาด พริก ขวักไขว่ ครื้นเครง ปลุกปลอบ ควาย ขวิด กวาง ฯลฯ
                         - อักษรควบไม่แท้ คือ พยางค์ หรือ คำ ที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ตัวหลัง เป็น ร ประสมสระเดียวกัน แต่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าตัวเดียว หรือ ออกเสียงเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น เช่น
                             ออกเสียงตัวเดียว ได้แก่ จริง ( จิง ) เศร้า ( เส้า ) สร้อย ( ส้อย ) ฯลฯ
                             ออกเสียงเป็นเสียงอื่น ได้แก่ ทราบ ( ซาบ ) ไทร ( ไซ )
                             ทรุดโทรม (ซุดโซม ) อินทรีย์ ( อินซี )
                     ๑.๒.๒. อักษรนำ – อักษรตาม หมายถึง คำ ที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ประสมด้วย สระเดียวกัน แต่ อ่านออกเสียงเป็น ๒ พยางค์ พยางค์หน้า หรือ อักษรนำ ออกเสียงสระ อะ กึ่งมาตรา พยางค์หลัง หรือ อักษรตาม ออกเสียงตาม สระที่ประสมอยู่ เช่น
                       สนุก ( สะ – หนุก ) ขนม ( ขะ – หนม ) ไฉน ( ฉะ – ไหน )
                       ตลาด ( ตะ – หลาด ) จรัส (จะ-หรัด)
      ข้อสังเกต อักษรนำ – อักษรตามที่มีอักษรสูง ( ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห ) หรืออักษรกลาง ( ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ ) นำอักษรต่ำเดี่ยว ( ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ ) จะอ่านออกเสียงพยางค์ที่ ๒ เหมือนมี ห นำ ข้อยกเว้น
                ๑. นำ เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก
                ๒. นำ ย ญ เช่น หย่า ใหญ่ หญ้า
                ๓. นำ ร ล ว เช่น หรูหรา หลาย แหวน ให้อ่านออกเสียงพยางค์เดียว
    ๒. ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ ( ตัวสะกด ) พยัญชนะ ๔๔ รูป ใช้เป็นตัวสะกดได้เป็นส่วนมาก ( ที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดได้แก่ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ ) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด มี ๘ มาตราหรือ ๘ แม่คือ
               ๑. เสียง หรือ แม่กง ใช้ เป็น ตัวสะกด เช่น จริง ซุง คลอง
               ๒. เสียง หรือ แม่กม ใช้ เป็นตัวสะกด เช่น ชม คลุม โดม
               ๓. เสียง หรือ แม่เกย ใช้ เป็นตัวสะดก เช่น สวย เลย กาย
               ๔. เสียง หรือ แม่เกอว ใช้ เป็นตัวสะกด เช่น หิว ขาว เขย
               ๕. เสียง หรือ แม่ กก ใช้ ก กร ข ค คร ฆ เป็นตัวสะกด เช่น ปาก จักร เลข
               ๖. เสียง หรือ แม่ กบ ใช้ บ ป ปร ฟ พ ภ เป็นตัวสะกด เช่น เก็บ กราฟ โลภ ภพ
               ๗. เสียง หรือ แม่กด ใช้ ด จ ช ชร ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฒิ ต ตร ตุ ติ ถ ท ทร ธ ธิ ศ ศร ษ ส เช่น โดด เพชร วุฒิ ครุฑ กบฎ
               ๘. เสียง หรือ แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น กิน หาญ นคร กาฬ
        ข้อสังเกต พยัญชนะที่ประสมด้วยสระแล้วไม่มีตัวสะกด เช่น ปลา ไป ที่ สระ น้ำ คำ เหล่านี้ เรียกว่า แม่ ก.กา
       ๓. ทำหน้าที่เป็นตัวการันต์ ตัวการันต์ คือพยัญชนะท้ายพยางค์ที่มีเครื่องหมาย ทัณฑฆาต กำกับ ไม่ต้องอ่านออกเสียง เช่น บัลลังก์ จันทร์ สิทธิ์ พันธ์ พระลักษณ์ ฯลฯ


    
        http://www.dekteen.com/เรียนไทย-พยัญชนะ.html/
        http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/g1/goy1/page2.html