<< Go Back
         
              คำกริยา หมายถึง คำแสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อให้ได้ความ เช่นคำว่า กิน เดิน นั่ง นอน เล่น จับ เขียน อ่าน เป็น คือ ถูก คล้าย เป็นต้น


            ๑. คำกริยาทำหน้าที่เป็นตัวแสดง ในภาคแสดงของประโยคหรือกริยาแท้ของประโยค เช่น สตรีไทยในปัจจุบันมีสิทธิเท่าเทียมบุรุษ, ประชาชนอนุรักษ์ธรรมชาติ, สุนัขกินข้าว
              ๒. คำกริยาทำหน้าที่ขยายนาม เช่น ดอกไม้ถวายพระใช้สีเหลืองทั้งหมด, วันนี้ไม่ใช่วันเดินทาง, อาหารเลี้ยงนักเรียนอยู่ด้านใน
             ๓. คำกริยาทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น เขาเดินเล่นตอนเช้า, เธอนั่งดูฉันเล่นคอมพิวเตอร์, นักเรียนทำงานหาเงินส่งตัวเอง
             ๔. คำกริยาทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น อ่านหนังสือทำให้ฉลาด, ฉันชอบเดินเร็ว ๆ, นักเรียนชอบออกกำลังกายกลางแจ้ง

 
                  ๑. อกรรมกริยา
                  ๒. สกรรมกริยา
                  ๓. วิกตรรถกริยา
                  ๔. กริยาอนุเคราะห์

                 ๑.  อกรรมกริยา  คือ  คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์  เข้าใจได้  เช่น
                            -  เขา"ยืน"อยู่                      
                            -  น้อง"นอน"
                  ๒.  สกรรมกริยา  คือ  คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ  เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง  เช่น
                            -  ฉัน "กิน"ข้าว (ข้าวเป็นกรรมที่มารับคำว่ากิน)
                            -  เขา"เห็น"นก (นกเป็นกรรมที่มารับคำว่าเห็น)
                 ๓.  วิกตรรถกริยา  คือ  คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง  ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ  คำกริยาพวกนี้คือ  เป็น  เหมือน  คล้าย  เท่า  คือ  เช่น
                           -  เขา"เป็น"นักเรียน                     
                           -  เขา"คือ"ครูของฉันเอง
                  ๔.  กริยานุเคราะห์  คือ  คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยค ให้มีความหมายชัดเจนขึ้น  ได้แก่คำว่า  จง  กำลัง  จะ  ย่อม  คง  ยัง  ถูก  นะ  เถอะ  เทอญ ฯลฯ  เช่น
                          -  นายดำ"จะ"ไปโรงเรียน                       
                          -  เขา"ถูก"ตี

 

     http://guru.sanook.com/8540/
     http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/neeranuch_i/sec03p011.html

<< Go Back