<< Go Back

                คำสรรพนาม หมายถึง คำที่ใช้แทนคำนามชนิดต่าง ๆ เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำอีกครั้ง

              หลักภาษาไทยได้แบ่งคำสรรพนามออกเป็น ๖ ชนิด ดังนี้
                    ๑. บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการพูดจากัน แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้
                             ๑.๑ สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนผู้พูด เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า
                             ๑.๒ สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ฟัง เช่น ท่าน เธอ คุณ
                             ๑.๓ สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่น เขา มัน ท่าน
                   ๒. นิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อบอกกำหนดให้ชัดเจนว่าอยู่ใกล้หรือไกล ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้
                         เช่น นี่คือบ้านของฉัน นั่นเป็นโรงเรียน
                                โน่นเป็นตลาด นี้ของเธอ
                  ๓. อนิยมสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามบอกความไม่แน่นอน ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน สิ่งใด
                         เช่น ใคร ๆ ก็เคยทำผิดทั้งนั้น
                                 อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
                                ผู้ใดฝ่าฝืนกฎจะถูกลงโทษอย่างหนัก
                   ๔. ปฤจฉาสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม และใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน สิ่งใด ผู้ใด                          เช่น อะไรอยู่ในขวด
                                ใครเป็นผู้แต่งเรื่องนายทองอิน
                                เมื่อไรเธอจะกลับมา
               ๕. วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแยกนามนั้นออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน บรรดา               เช่น นักเรียนต่างคนต่างเดินทางกลับบ้าน นักเรียนมีหลายคน นักเรียนแต่ละคน
                                 เดินทางกลับบ้าน โดย ต่าง แทน นักเรียน
                                 พี่กับน้องไปโรงเรียนด้วยกัน คำว่า กัน ในที่นี้แสดงจำนวนหลายคนที่ร่วมกระทำ
               ๖. ประพันธสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า โดยทำหน้าที่เชื่อมประโยค ให้เป็นประโยคเดียวกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน ผู้
                           เช่น รถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นประหยัดน้ำมันมาก  (ที่ เป็นคำสรรพนามที่แทนคำนาม รถยนต์)
                                  เขาเป็นคนดีอันเกิดจากการอบรมของพ่อแม่ (อัน เป็นคำสรรพนามที่แทนคำนาม คนดี)


                 ๑. คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น เขาชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า
                 ๒. คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น เขาเห็นเธอนั่งอยู่คนเดียว
               ๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม (คำสรรพนามจะอยู่หลังคำกริยาเหล่านี้ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ) เช่น ดาราคนนั้นหน้าเหมือนคุณมาก
                 ๔. ทำหน้าที่ใช้เป็นคำเรียกขาน เช่น ท่านคะมีแขกมาขอพบค่ะ

 

     https://sites.google.com/site/phasathiykhrucin/chnid-khxng-kha-ni-phasa-thiy/kha-srrphnam

<< Go Back