<< Go Back

           ภาษาไทยมีคำยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษาชวา  ภาษาบาลี  ภาษาละติน  ภาษาสันสกฤต  ภาษาอังกฤษ


         คำภาษาจีนที่รวบรวมมานี้มีปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งคัดเลือกมาเฉพาะคำที่อ้างอิงถึงภาษาจีน โดยอาจแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
            ๑. กลุ่มที่มี (จ.) กำกับ บอกที่มาของคำ เช่น กวยจี๊ ยี่ห้อ
            ๒. กลุ่มที่มีข้อความอ้างอิงว่ามาจากจีน เช่น ขงจื๊อ ฮกเกี้ยน
          ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาจีน
               - ก๊ก  น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็น เหล่า. (จ. ว่า ประเทศ)
                     - ก๋วยเตี๋ยว น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้น ๆ ถ้าลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น
                     - เจ๊ง (ปาก) ก. เลิกล้มกิจการเพราะหมดทุน; สิ้นสุด. (จ.).
                     - โจ๊ก น. ข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ. (จ.)
                     - เต้าเจี้ยว น. ถั่วเหลืองที่หมักเกลือสําหรับปรุงอาหาร. (จ.)

 
            ภาษามลายูที่มีอยู่ในภาษาไทยนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่หนึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้ของประเทศไทยที่อยู่ใกล้เคียงหรือติดต่อกับมลายูหรือประเทศมาเลเซีย กลุ่มที่สองเป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคใด และกลุ่มที่สามเป็นคำที่มีใช้เฉพาะในวรรณคดี เป็นต้น

คำ ความหมาย
กาหยู,ยาร่วง
เกาะตะ,กอตะ,โกตะ
กระดังงา
กัด
ฆง
ฆอและ
พรก
พรัด
ความหมาย
มะม่วงหิมพานต์
กล่องบุหรี่ของชาวประมงทำด้วยไม้มีเชือกผูกแขวนไว้
ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม
อวนขนาดย่อม สำหรับดักปลาซึ่งอยู่ผิวน้ำ
ข้าวโพด
ไก่ทั้งตัวที่แกงเสร็จแล้ว แกงกับเครื่องเทศผัดกับกะทิ
กะลามะพร้าว
เรียกฝนหรือมรสุมตะวันตกพัดเข้ามาว่า ฝนพลัด



            ภาษาเขมรเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยทางการค้า ทางสงครามการเมืองและวัฒนธรรม คำที่มาจากภาษาเขมร ส่วนใหญ่ที่พบมักใช้ในวรรณกรรม วรรณคดี คำราชาศัพท์ และใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้
                               ๑) คำภาษาเขมรมักไม่มีวรรณยุกต์
                               ๒) คำภาษาเขมรมักไม่ประวิสรรชนีย์  
                               ๓) มักใช้  ร  ล  ญ  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กน
                               ๔) มักใช้  จ  ส  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กด
                               ๕) มักเป็นคำควบกล้ำและอักษรนำ
                               ๖) คำราชาศัพท์บางคำมาจากภาษาเขมร
                               ๗) คำที่ขึ้นต้นด้วย  บัง    บัน    บำ     บรร   มักมาจากภาษาเขมร  
                               ๘) คำที่ขึ้นต้นด้วย   กำ   คำ   จำ    ชำ    ดำ   ตำ     ทำ  มักมาจากภาษาเขมร
                               ๙) คำภาษาเขมรส่วนใหญ่มักแผลงคำได้

              ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย

                                          คำ                                           ความหมาย

                                         แข                                           พระจันทร์
                                         เสวย                                        กิน
                                         จุ                                              ทำให้ลง
                                         เจาะ                                          ปัก
                                         เพ็ญ                                          เต็ม
                                         ลาด                                          ตรวจ,เที่ยวดู
                                         เลิศ                                            ดี
                                          อวย                                          ให้


 


   https://www.gotoknow.org/posts/490649

<< Go Back