<< Go Back

           ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ในแต่ละสังคมกำหนดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจตกลงกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ฉะนั้นการใช้ภาษาจึงต้องใช้ได้ตรงตามกำหนดของสังคม ไม่ว่าเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน หากสิ่งใดผิดแปลกไปจากข้อตกลงการสื่อสาร ก็จะหยุดชะงักล่าช้าลง ผิดแผกไปจากเจตนาหรือไม่สามารถสื่อสารได้

    
                ภาษาพูด
 เป็นภาษาที่ใช้พูดจากันไม่เป็นแบบแผนภาษา ไม่พิถีพิถันในากรใช้แต่ใช้สื่อสารกันได้ดี สร้างความรู้สึกที่เป็นกันเอง ใช้ในหมู่เพื่อนฝูง ในครอบครัว และติดต่อสื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการการ ใช้ภาษาพูดจะใช้ภาษาที่เป็นกันเองและสุภาพ ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงว่าพูดกับบุคคลที่มีฐานะต่างกัน
                  การใช้ถ้อยคำก็ต่างกันไปด้วย ไม่คำนึงถึงหลักภาษาหรือระเบียบแบบแผนการใช้ภาษามากนัก

         ภาษาเขียน มีลักษณะเคร่งครัดในหลักภาษา มีทั้งระดับเคร่งครัดมาก เรียกว่า ภาษาแบบแผน เช่น การเขียนภาษาเป็นทางการดังกล่าวในข้อ 1.1 ระดับเคร่งครัดไม่มากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ ดังกล่าวในข้อ 1..2 ในวรรณกรรมมีการใช้ภาษาเขียน 3 แบบ คือ ภาษาเขียนแบบจินตนาการ เช่น ภาษาการประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นต้น ภาษาเขียนแบบแสดงข้อเท็จจริง เช่น การเขียนบทความ สารคดี เป็นต้น และภาษาเขียนแบบประชาสัมพันธ์ เช่น การเขียนคำโฆษณา หรือคำขวัญ เป็นต้น


     1) ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวัย มีการเปลี่ยนแปลงคำพูดอยู่เสมอ เช่น 
                      ภาษาพูด                         ภาษาเขียน 
                      วัยโจ๋                                วัยรุ่น 
                       เจ๋ง                                   เยี่ยมมาก 
                       แห้ว                                 ผิดหวัง 
                       เดี้ยง                                 พลาดและเจ็บตัว 
                       มั่ว นิ่ม                              ทำไม่จริงจังและปิดบัง
                       โหลยโท่ย                         แย่มาก 
                       จิ๊บจ๊อย                              เล็กน้อย 
                       ดิ้น                                    เต้นรำ 
                       เซ็ง                                    เบื่อหน่าย 
                       แซว                                   เสียดสี 
       2) ภาษาพูด มักเป็นภาษาไทยแท้ คือ เป็นภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย แต่ภาษาเขียนมักใช้ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต เป็นภาษาแบบแผน หรือกึ่งแบบแผน เช่น 
                         ภาษาพูด                        ภาษาเขียน 
                          ในหลวง                        พระมหากษัตริย์ 
                           ผัว เมีย                          สามีภรรยา 
                           เมียน้อย                        อนุภรรยา 
                           ค่อยยังชั่ว                      อาการดีขึ้น อาการทุเลาขึ้น 
                           ดาราหนัง                      ดาราภาพยนตร์ 
                           วัวควาย                        โคกระบือ 
                           ปอด ลอย                      หวาดกลัว 
                           โดนสวด                       ถูกด่า 
                           ตีนเปล่า                         เท้าเปล่า 
                           เกือก                              รองเท้า 
3) ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียงสระและเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคำให้สั้นลง แต่ภาษาเขียนคงเคร่งครัดตามรูปคำเดิม เช่น 
                       ภาษาพูด                         ภาษาเขียน 
                        เริ่ด                                  เลิศ 
                        เพ่                                    พี่ 
                        ใช่ป้ะ                              ใช่หรือเปล่า 
                        ตื่น เต้ลล์                          ตื่นเต้น 
                        ใช่มะ                               ใช่ไหม 
                        จิงอะป่าว                          จริงหรือเปล่า 
                        ลุย                                    ตะลุย 
                        มหาลัย                              มหาวิทยาลัย 
4) ภาษาพูด ยืมคำภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ และมักตัดคำให้สั้นลง รวมทั้งภาษาจีน เป็นต้น ภาเขียนใช้คำแปลภาษาไทยหรือทับศัพท์ เช่น 
                        ภาษาพูด                          ภาษาเขียน 
                        เว่อร์ (over)                       เกินควร เกินกำหนด 
                        แอ๊บ (abnomal)                 ผิดปกติ 
                        จอย (enjoy)                       สนุก เพลิดเพลิน 
                        ซี (xerox)                          ถ่ายสำเนาเอกสาร 
                        ก็อบ (copy)                       สำเนา ต้นฉบับ 
                        ดิก (dictionary)                  พจนานุกรม 
                        เอ็น (entrance)                   สอบเข้ามหาวิทยาลัย 
                       ไท (necktie)                        เนกไท 
                        กุนซือ (ภาษาจีน)                ที่ปรึกษา 
                        บ๊วย (ภาษาจีน)                   สุดท้าย 
                        ตั๋ว (ภาษาจีน)                      บัตร

 

 


https://sites.google.com/site/tetaenooker/home/phasa-phud-kab-phasa-kheiyn

<< Go Back