Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present Simple Tense จึงเป็นประโยคที่มีโครงสร้างแบบง่าย ๆ เพื่อใช้พูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันนั่นเอง โดยมีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ใช้เพื่อพูดถึงความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน หรือความเป็นจริงตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ตาม เช่น
When the earth moves around itself, it makes Day and Night.
เมื่อโลกหมุนรอบตัวเอง มันทำให้เกิดกลางวันกลางคืน
Durian is the king of fruit.
ทุเรียนเป็นราชาผลไม้
2. ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ นิสัย หรือการกระทำที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นประจำทุกวัน เช่น
I walk to school every day.
(ฉันเดินไปโรงเรียนทุกวัน)
Nuda always help other people so everyone loves her.
(นุดาช่วยเหลือคนอื่นเป็นประจำ ดังนั้นทุกคนจึงรักหล่อน)
3. ใช้เพื่อให้คำแนะนำหรือการบอกทิศทาง เช่น
Turn off the television before going to bed.
(ปิดโทรทัศน์ก่อนเข้านอน)
You go straight for 300 meters, then the destination is on your left.
(คุณเดินตรงไป 300 เมตรและจุดหมายปลายทางจะอยู่ทางซ้ายมือของคุณ)
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่า Present Simple Tense คือ ประโยคที่บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ฉันว่ายน้ำทุก ๆ วัน โดยรูปประโยคของ Present Simple Tense มีรูปแบบดังต่อไปนี้
1. ประโยคบอกเล่า
โครงสร้างของประโยคบอกเล่า : Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา) ทั้งนี้คำกริยาช่องที่ 1 นั้นจะมีการเติม s หรือ es ถ้าหากประธานของประโยคเป็นเอกพจน์ (He, She, It) แต่ถ้าประธานเป็น I, You หรือประธานพหูพจน์ (You (หลายคน), We, They) ให้คงรูปคำกริยานั้น ๆ ไว้เช่นเดิม เช่น
I go to university by bus every morning.
(ฉันไปมหาวิทยาลัยโดยรถโดยสารประจำทางทุกเช้า)
**ประโยคนี้ประธานคือ I แม้จะเป็นเอกพจน์แต่เป็นข้อยกเว้น ดังกริยา go จึงไม่ต้องเติม s หรือ es
He plays guitar very well.
(เขาเล่นกีตาร์เก่งมาก)
**ประโยคนี้ประธานคือ He เป็นเอกพจน์ กริยาคือ play จึงต้องเติม s
They enjoy playing the football.
(พวกเขาสนุกกับการเล่นฟุตบอล)
**ประโยคนี้ประธานคือ They เป็นพหูพจน์ กริยาคือ enjoy จึงไม่ต้องเติม s หรือ es
2. ประโยคคำถาม
โครงสร้างของประโยคคำถามใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคือ
แบบที่ 1 : Verb to be + Subject + Object/ส่วนขยาย + (คำบอกเวลา) ? ใช้เมื่อในประโยคนั้นมี V. to be (Is, Am, Are) ปรากฎอยู่ เช่น
She is my sister. ---> Is she your sister ?
(หล่อนเป็นน้องสาวคุณหรือเปล่า?)
เมื่อเห็น V. to be ในประโยคให้นำ V. to be ขึ้นต้นประโยคนำหน้าประธานได้เลย เพียงเท่านี้ก็จะกลายเป็นประโยคคำถาม (และอย่าลืมเปลี่ยนคำสรรพนามด้วยนะคะ จาก my เป็น your)
แบบที่ 2 : Verb to do + Subject + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา) ? ใช้เมื่อประโยคนั้นไม่มี V. to be จึงต้องนำ V. to do ได้แก่ do กับ does เข้ามาช่วย โดยขึ้นต้นประโยคนำหน้าประธาน ซึ่งมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันคือ Do ใช้นำหน้า I, You และประธานที่เป็นพหูพจน์ (You, We, They) ส่วน Does ใช้นำหน้าประธานที่เป็นเอกพจน์ (He, She, It) และคำกริยาคงรูปช่องที่ 1 เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเติม s, es เช่น
They play football every evening. ---> Do they play football every evening?
(พวกเขาเล่นฟุตบอลทุกเย็นหรือเปล่า?)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do มาใช้ขึ้นต้นประโยคนำหน้า they ซึ่งเป็นประธานพหูพจน์
That cat eats fish. ---> Does that cat eat fish ?
(แมวตัวนั้นกินปลาหรือเปล่า?)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do นั่นก็คือ does มาใช้ขึ้นต้นประโยคนำหน้า that cat
หรือก็คือ it ซึ่งเป็นประธานเอกพจน์ โดยคำกริยาคือ eat มีการตัด s ออกในประโยคคำถาม
3. ประโยคปฏิเสธ
รูปแบบประโยคปฏิเสธใน Present Simple Tense มีสองรูปแบบคล้ายกับรูปแบบประโยคคำถามคือ
แบบที่ 1 : Subject + Verb to be + not + Object/ส่วนขยาย + (คำบอกเวลา) ใช้เมื่อในประโยคนั้นมี V. to be (Is, Am, Are) ปรากฎอยู่ เช่น
I am your servant. ---> I am not your servant.
(ฉันไม่ได้เป็นคนรับใช้ของคุณ)
เมื่อเห็น V. to be ในประโยคให้เติม not ไว้หลัง V. to be ได้ทันที เพียงเท่านี้ก็จะกลายเป็นประโยคปฏิเสธ
แบบที่ 2 : Subject + Verb to do + not + Verb.1 + Object + (คำบอกเวลา) แบบที่สองใช้เมื่อประโยคนั้นไม่มี V. to be จึงต้องนำ V. to do ได้แก่ do กับ does เข้ามาช่วยแล้วตามหลังด้วย not เพื่อบอกความปฏิเสธ ส่วนคำกริยาให้คงรูปช่องที่ 1 เหมือนเดิมโดยไม่ต้องเติม s,es เช่น
He watches television at home. ---> He does not watch television at home.
(เขาไม่ได้ดูโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน)
ประโยคนี้ไม่มี V. to be อยู่ในประโยค จึงนำ V. to do
นั่นก็คือ does มาเป็นกริยาช่วยและตามด้วย not เพื่อบอกรูปปฏิเสธ
ส่วนคำกริยาเมื่ออยู่ในรูปปฏิเสธแล้วให้ตัด s,es ทิ้งคงเหลือคำกริยาช่องที่ 1 รูปเดิม
ในประโยค Present Simple Tense มักจะมีคำบอกเวลาซึ่งเป็น Adverbs of Frequency ปรากฎอยู่ในประโยคเพื่อบอกความถี่ของเหตุการณ์หรือการกระทำนั้น ๆ ได้แก่
Adverbs of Frequency |
คำบอกเวลา |
Always |
สม่ำเสมอ, เป็นประจำ |
Frequently |
บ่อย ๆ |
Often |
บ่อย ๆ |
Usually |
โดยปกติ |
Hardly |
แทบจะไม่เคย |
Never |
ไม่เคย |
Rarely |
แทบจะไม่เคย |
Seldom |
นาน ๆ ครั้ง |
Sometimes |
บางครั้ง |
และนอกจากตัวอย่างคำบอกเวลาที่พบบ่อยใน Present Simple Tense แล้ว ยังอาจพบคำว่า every + ... เช่น every month, every morning, every Saturday เพื่อบอกความถี่ของเหตุการณ์หรือการกระทำก็ได้ เช่น
My teacher always drinks coffee in the morning.
(ครูของฉันดื่มกาแฟในตอนเช้าเป็นประจำ)
Nadech usually gets up at 7 o'clock.
(โดยปกติณเดชตื่นนอนตอนเจ็ดโมง)
Narong hardly reads books so he doesn't pass the exam.
(ณรงค์แทบจะไม่เคยอ่านหนังสือ ดังนั้นเขาจึงสอบตก)
It seldom rains in this part of the country.
(ฝนตกนาน ๆ ครั้งในพื้นที่นี้ของประเทศ)
I feel like she's selfish sometimes.
(ฉันรู้สึกว่าหล่อนเห็นแก่ตัวในบางครั้ง)
Kimmy hangs out with her friends every Saturday night.
(คิมมี่ออกไปเที่ยวกับเพื่อนของเธอทุกคืนวันเสาร์)
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/68506/-blo-laneng-lan- |