ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น
เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น
หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า
การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา
แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก
- ลักษณะเชิงสังคม ซึ่งเป็นลักษณะแปรผันอย่างหนึ่งของภาษา ที่พูดกันในชนชั้นสังคมหนึ่งๆ
- ภาษามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานจากลักษณะการใช้งาน (เช่น มาตรฐานการเขียน)
- ภาษาเฉพาะวงการ
- ภาษาสแลง
หากลักษณะแปรผันของภาษาถิ่นนั้น เป็นเพียงลักษณะของเสียง ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า สำเนียง ไม่ใช่ ภาษาถิ่น ซึ่งในบางครั้งก็ยากที่จะจำแนกว่าภาษาในท้องถิ่นหนึ่งๆ นั้น เป็นภาษาย่อยของถิ่นหลัก หรือเป็นเพียงสำเนียงท้องถิ่นเท่านั้น
ภาษาถิ่นกลาง
ที่มาของภาพ : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-3.html
ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน
ภาษาถิ่นเหนือ
ที่มาของภาพ : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-4.html
หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง) ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่ เป็นต้น
ภาษาถิ่นใต้
ที่มาของภาพ : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-6.html
ภาษาถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาษาถิ่นใต้ ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ตรัง สตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานีและชุมพร และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี ในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่นระนอง ภาษาถิ่นภูเก็ต ภาษาถิ่นพัทลุง ภาษาถิ่นสงขลา เป็นต้น ภาษาถิ่นย่อยเหล่านี้อาจจะมีเสียง และคำที่เรียกสิ่งเดียวกันแตกต่างกันออกไป
ภาษาถิ่นตะวันออก
ที่มาของภาพ : http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter4-7.html
วิเศษ ชาญประโคน (2550, หน้า 40-41) ได้กล่าวถึง ภาษาถิ่นตะวันออกว่าเป็นภาษาย่อย ที่ใช้พูดจากัน ในท้องถิ่นตะวันออกมี ระยอง จันทบุรี ตราด เป็นต้น
http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาถิ่น
|