<< Go Back

สัตว์เลือดอุ่นสัตว์เลือดเย็น สัตว์เลือดอุ่นและสัตว์เลือดเย็น สัตว์เลือดอุ่น คือ สัตว์ที่อุณหภูมิคงที่เป็นอิสระจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม และสามารถควบคุมและรักษาอุณหภูมิให้คงที่ตลอดเวลาได้ หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็น้อยมาก ไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะหนาวเย็นหรือร้อนเพียงใดก็ตาม อัตราเมตาโบลิซึมของร่างกายจะแปรผกผันกับอุณหภูมิ สัตว์เลือดอุ่นมี 2 กลุ่มใหญ่คือ นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ประเภทของสัตว์เลือดอุ่น คือ สัตว์จำพวกนกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น คน ช้าง แมวน้ำ ปลาวาฬ สุนัข นก เป็นต้น

1. ผิวหนัง เป็นตัวกลางในการรับหรือถ่ายความร้อนของร่างกายซึ่งกั้นอยู่ ระหว่างภาวะภายในร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
2. ขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนมากมีขนปกคลุมร่างกาย ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปแม้จะเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันแต่อาศัยในที่ต่างกัน
3. ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง สัตว์เลือดอุ่นในเขตหนาวมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังหนา ทำหน้าที่เป็นฉนวนไม่ให้ความร้อนในร่างกายสูญไป และเป็นแหล่งที่จะให้ความร้อนแก่ร่างกาย

1. อุณหภูมิในร่างกาย คือ สัตว์เลือดอุ่นจะมีอุณหภูมิคงที่ ส่วนสัตว์เลือดเย็นนั้นจะมีอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม
2. สัตว์เลือดอุ่นเป็นสัตว์จำพวกนกและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม
3. กลไกในการควบคุมและรักษาภายในร่างกาย คือ สัตว์เลือดอุ่นจะพยายามรักษาอุณหภูมิให้คงที่อยู่เสมอ ส่วนสัตว์เลือดเย็นจะเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายไปตามสภาพแวดล้อมที่เเปลี่ยนไป

สัตว์เลือดอุ่นมีวิธีการหลบหลีกสภาวะแวดล้อมของอากาศที่ไม่เหมาะสมแตกต่างกันหลายลักษณะ เช่น การจำศีล ซึ่งอาจเป็นการหนีหนาวหรือหนีร้อน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินแมลงเป็นอาหาร ค้างคาวบางชนิด หนูบางชนิด กระรอกแถบขั้วโลก เป็นต้น แต่สัตว์จำพวกหมีไม่จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดอุ่นที่จำศีล ถึงแม้ฤดูหนาวมันจะนอนหลับในถ้ำ ไม่ออกมาหากินก็ตาม แต่ว่าอุณหภูมิของหมีก็ไม่ลดลงมาก และจะตื่นมาเมื่อไรก็ได้ในฤดูหนาว ซึ่งตรงข้ามกับสัตว์จำพวกหนูและค้างคาวจะนอนหลับตลอดฤดูหนาวเลย


ที่มา : https://sites.google.com/site/bioppk/home/xanacakr-satw/fi-lam-khxrd-a-ta-phylum-chordata


https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-8052.html

<< Go Back