<< Go Back

ไซโกต หมายถึง เซลล์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย พร้อมที่จะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอในสัตว์ชั้นสูง ไซโกตก็คือ ไข่ที่ได้รับการผสมกับตัวอสุจิแล้ว
ไซโกต ประกอบด้วย 46 โครโมโซม ซึ่งแสดงลักษณะเด่นแรก ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่สมบูรณ์ ลักษณะเด่นที่ สำคัญนี้ อยู่ใน โมเลกุลที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ หรือสารพันธุกรรม สารพันธุกรรม ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการเจริญ เติบโต ของร่างกายทั้งหมด ประมาณ 24 ถึง 30 ชั่วโมง หลังจากการปฏิสนธิ ไซโกต สามารถแบ่ง เซลล์แรกในตัวของมัน ได้เสร็จสมบูรณ์ โดยผ่านกระบวนการการแบ่ง นิวเคลียสของเซลล์ หรือไมโทซิส จาก 1 เซลล์เป็น 2 เซลล์ จาก 2 เซลล์ เป็น 4 เซลล์และทวีคูณไปเรื่อย ๆ

เริ่มโดยการแบ่งตัวแบบไมโตซิสของ ไซโกตอย่างรวดเร็ว จนเป็นกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ จำนวนมากมาย แต่ไม่เจริญเติบโตขึ้น เซลล์ที่ได้นี้เรียกว่า บลาสโตเมียร์ (Blastomere) ตัวอ่อนในระยะนี้เรียกว่ามอรูลา (Morula)
1.1 โฮโลบลาสติก คลีเวจ (Holoblastic cleavage) เป็นวิธีการแบ่งตัวของไซโกตแบบหนึ่งที่เป็นการแบ่งตัวของไซโกต ตลอดทั้งเซลล์ถ้าเซลล์ที่ได้จากการแบ่งมีขนาดเท่ากันหรือเกือบเท่ากันก็เรียกว่า อิควล โฮโลบลาสติค คลีเวจ (Equal holoblastic cleavage) แต่ถ้ามีขนาดไม่เท่ากันเรียกว่า อันอิควล โฮลบลาสติค คลีเวจ (Unequal holoblastic cleavage)


ภาพแสดง โฮโลบลาสติกคลีเวจ
ที่มา http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter- uploads/libs/html/1188/CleavageFrogEmbryo.gif

1.2 เมอโรบลาสติก คลีเวจ (Meroblastic cleavage) เป็นการแบ่งตัวของไซโกตที่ไม่เกิดขึ้นตลอดทั้งเซลล์ แนวการแบ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะด้านบนของไข่ตรงบริเวณที่เรียกว่า บลาสโตดิส หรือบริเวณเจอมินัล (Germinal disc) พบในพวกไข่ของสัตว์ปีก


ภาพแสดงเมอโรบลาสติกคลีเวจ
ที่มา http://www.bio.unc.edu/faculty/harris/Courses/biol104/fish1.jpg


http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter6/p3_3.html

<< Go Back