<< Go Back

รหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นชุดของการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ และถูกทรานสเลชันเป็นโปรตีน หรือลำดับกรดอะมิโน ในเซลล์ที่มีชีวิต รหัสแต่ละรหัสประกอบไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์สามตัว ซึ่งกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว แม้จะมีรหัสพันธุกรรมที่เป็นสากล แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันไปได้บ้าง เช่น รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียของคน ต่างจากรหัสพันธุกรรมที่รู้จักกันทั่วไป
ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเก็บในรหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีลำดับควบคุม (regulatory sequences) ส่วนที่รวมเข้าด้วยกัน ( intergenic segments) และโครงสร้างโครโมโซม ที่มีผลต่อฟีโนไทป์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรหัสที่กำหนดกรดอะมิโน


ลำดับของกรดอะมิโนบน mRNAแต่ละรหัสมีนิวคลีโอไทด์ 3 ตัว และกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/รหัสพันธุกรรม

รหัสพันธุกรรม 1 รหัส คือกลุ่มของลำดับเบส 3 ลำดับ ที่เรียงติดต่อกันภายในโมเลกุล mRNA เรียกรหัสพันธุกรรมว่า codon หรือ triplet code โดยแต่ละรหัสพันธุกรรมจะเฉพาะเจาะจงกับกรดอะมิโนแต่ละชนิด เนื่องจากโมเลกุล mRNA ประกอบ ด้วย เบส 4 ชนิด คือ A , U , G และ C และในแต่ละรหัสพันธุกรรมประกอบด้วยเบส 3 ลำดับ ดังนั้นจำนวนของรหัสพันธุกรรมทั้งหมดมี เท่ากับ 43 หรือ 64 รหัส


ที่มา : https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/3333/lessonproteinsynthesis/codon-anticodon

1. รหัสพันธุกรรม 1 รหัส ประกอบด้วยลำดับเบส 3 ตัว เรียงติดต่อกันบน สาย mRNA
2. รหัสพันธุกรรม ไม่มีการเว้น (commaless) โดยที่ไรโบโซม จะอ่านรหัสพันธุกรรมอย่างต่อ เนื่องครั้งละ 3 นิวคลีโอไทด์ โดยไม่มี การเว้น หรือข้ามนิวคลีโอไทด์ระหว่างรหัส
3. รหัสพันธุกรรมไม่มีการเหลื่อมซ้อนกัน ( non overlapping ) ในกระบวนแปลรหัส พบว่ารหัสพันธุกรรมจะถูกอ่านเรียงต่อกันอย่าง เป็นลำดับๆ ละ 3 เบส นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นโดยไม่มีการอ่านการเหลื่อมซ้อน กันของเบสที่อยู่ต่างรหัสพันธุกรรมกัน
4. มีรหัสพันธุกรรมมากกว่า 1 รหัส ที่กำหนดกรดอะมิโนชนิดเดียวกัน เรียกรหัสเหล่านี้ว่า degenerate code หรืออาจจะเรียกว่า เช่น กรดอะมิโน leucine มีรหัสพันธุกรรม 6 รหัส ได้แก่ CUU, CUC, CUA, CUG, UUA และ UUG
5. รหัสพันธุกรรม 3 รหัส คือ UAA ( ochre ) , UAG ( amber ) และ UGA ( opal ) เป็นรหัสหยุดการสังเคราะห์โปรตีน ( stop codon ) รหัสเหล่านี้ช่วยให้เกิดการสิ้นสุดการสังเคราะห์โปรตีน คือไม่สามารถ ถอดรหัสออกมาเป็นกรดอะมิโนได้
6. รหัสพันธุกรรมส่วนใหญ่เป็นสากล ( universal codon ) พบว่ารหัสพันธุกรรมของสิ่ง มีชีวิตเกือบทั้งหมดจะเหมือนกัน ยกเว้นรหัส พันธุกรรมที่พบในไมโตคอนเดรียของสิ่งมีชีวิตชั้นสูงบางชนิด
7. รหัสพันธุกรรม 1 รหัสสามารถกำหนดให้เป็นกรดอะมิโนได้มากกว่า 1 ชนิด เรียก ambigunous code โดยความจริงแล้วยังไม่ สามารถบ่งชี้ได้แน่ชัด เพราะรหัสดังกล่าวมีการแสดง ออกที่คลุมเครือ เช่น รหัส AUG เป็นรหัสเริ่มต้นบนสาย mRNA ถูกกำหนดให้ เป็นรหัสของกรดอะมิโน N - formylmethionine แต่ถ้าเป็นรหัส AUG ที่อยู่ภายในสาย mRNA จะถูกกำหนดให้เป็นรหัสของกรดอะมิ โนเมทไทโอนีน (methionine ) ปกติ


https://th.wikipedia.org/wiki/รหัสพันธุกรรม
https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/3333/lessonproteinsynthesis/codon-anticodon

<< Go Back