<< Go Back

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ
         สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฏหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น
         เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
         หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็น สิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมาย บัญญัติไว้ จะไม่ปฏิบัติตามไไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยไว้ดังนี้
1) สิทธิของปวงชนชาวไทย
         1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความ
              เป็นอยู่ส่วนตัว
         2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรม
             อันดีงามภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
         3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
         4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพ
             และทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
         5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการ
             รักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
         6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็น
             ธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
         7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความ
             ช่วยเหลือ เป็นต้น
         8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็ฯสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็น
             สาธารณะแก่บุคคลในสังคม
         9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
         10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้น
                แต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วน
               ได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
         11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
         12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติ
               บุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น
2) เสรีภาพของปวงชนชาวไทย
         1. เสรีภาพในเคหสถาน ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองในการอาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข
              การเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่น โดยปราศจากการยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการเข้าไปตรวจค้นเคหสถาน
              โดยไม่มีหมายค้นจากศาลย่อมทำไม่ได้
         2. เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักรหรือห้ามมิ
              ให้บุคคลผู้มี สัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้
         3. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
              จะจำกัดแก่บุคคลชาวไทยมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ
              เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
         4. เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวม
              ทั้งการกระทำต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลนั้นจะกระทำมิได้
         5. เสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกาย ลัทธิ ความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ
              ของตน โดยไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
              ย่อมเป็นเสรีภาพของประชาชน
         6. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจ
              ตามบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนที่จะใช้ที่ สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยเมื่อประเทศ
              อยู่ในภาวะสงคราม หรือระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
         7. เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหพันธ์ สหองค์กร องค์กรเอกชน หรือหมู่คณะอื่น การจำกัดเสรีภาพต่าง ๆ
              เหล่านี้จะกระทำมิได้เว้นแต่อาศัยอำนาจกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน การรักษา
              ความสงบเรียบร้อยหรือป้องกันการผูกขาดในทางเศรษฐกิจ
         8. เสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชา
              ธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
         9. เสรีภาพในการประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะทำได้ โดยอาศัย
              กฎหมายเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของ ประเทศ และเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือ
              ขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า
3) หน้าที่ของประชาชนชาวไทย
         1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการแกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
              ทรงเป็นประมุข
         2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
         3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้ง โดยไม่แจ้งเหตุผลอันสมควร ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมาย
              บัญญัติไว้
         4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร
         5. บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐ
         6. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม ปกป้องและสืบสานวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวม
              ถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         7. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการ
              ให้เป็นไปตามกฏหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความ สะดวกและให้บริการแก่ประชาชน
แนวทางการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
         1. เคารพสิทธิของกันและกัน โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น สิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิในครอบ
              ครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงและความเป็นส่วนตัว เป็นต้น
         2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การรักษาสิทธิในการเลือกตั้งเพื่อ
              ป้องกันไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง
         3. รณรงค์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และปลูกฝังแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่ชุมชนหรือสังคม
              ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำได้ เช้น ให้ความรู้กับสมาชิกครอบครัว จากนั้นจึงค่อย ๆขยายไปยังสถา
              บันอื่น ๆในสังคม เช่น สถานศึกษา เป็นต้น
         4. ร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการ
              ละเมิดสิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานขององค์กรที่ปฏิบัติงานในการคุ้มครอง
              สิทธิมนุษยชน เป็นต้น
         5. การกฏิบัติตามหน้าที่ของชาวไทยตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเสียภาษีให้รัฐเพื่อนำเงินนั้นมาใช้
              พัฒนาประเทศ การเข้ารับราชการทหาร เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศ หรือการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
              เพื่อให้ได้คนดีเข้าไปบริหารบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
         6. ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้โดยการให้ความช่วยเหลือ
              ด้านข้อมูลข่าวสารการทุจริตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
              แห่งชาติ หรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยว
              กับการทุจริตการเลือกตั้งประจำเขต เป็นต้น

http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2147-00/

<< Go Back