<< Go Back

การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

        การที่นักเรียนจะวิเคราะห์เนื้อหาสาระของการอ่านและการพูดนั้น นักเรียนจะต้องรู้ว่าอะไรเป็นใจความสำคัญของเรื่อง อะไรเป็นเนื้อหาหลัก เนื้อหารอง ตอนใดเป็นใจความที่แสดงเหตุและผล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้ความคิด ความรู้ และประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อพิจารณาว่าเรื่องที่ฟังนี้มีความสมเหตุสมผลและมีความถูกต้องหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

        การวิเคราะห์ข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อความใดเป็นข้อคิดเห็น นักเรียนจะต้องตั้งใจอ่านและตั้งใจฟัง  แล้วลองใช้หลักต่อไปนี้พิจารณาแยกแยะ

ลักษณะของข้อเท็จจริง ลักษณะของข้อคิดเห็น

๑. มีความเป็นไปได้

๒. มีความสมจริง

๓. มีหลักฐานเชื่อถือได้

๔. มีความสมเหตุสมผล

๑. เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก

๒. เป็นข้อความที่แสดงความคาดคะเน

๓. เป็นข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบ อุปมาอุปมัย

๔. เป็นข้อความที่เป็นข้อเสนอแนะหรือเป็นความคิดเห็นของผู้พูดเอง

 

ตัวอย่างข้อความที่เป็นและข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

         ลักษณะของข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง

                  ๑. จังหวัดเชียงรายอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย

                  ๒. การทำลายป่าไม้ทำให้เกิดความแห้งแล้ง

                  ๓. แมวมือมีฝีเท้าเบามาก

                  ๔. เมื่อข้าวราคาตกต่ำทำให้ชาวนาเดือดร้อน

                  ๕. มงคลเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดถ้ำปลาวิทยาคม

         ลักษณะของข้อของข้อความที่เป็นคิดเห็น

                  ๑. เชียงรายมีภูมิประเทศที่สวยงามน่าอยู่

                  ๒. กินผักบุ้งทำให้ตาหวาน

                  ๓. คนที่เชื่อถือโชคลาง เชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ลึกลับ

                  ๔. บ่าววีร้องเพลงได้อารมณ์มากที่สุด

                  ๕. สมชายชอบวิชาภาษาไทย 

          นักเรียนควรตระหนักถึงความสำคัญของการฝึกวิเคราะห์จาการอ่านการฟังและการดู เพราะทุกวันนี้เป็นยุคแห่งข่าวสารข้อมูล เราจำเป็นต้องรับสารที่เข้ามาในชีวิตประจำวันอย่างมากมาย ทั้งสารที่เป็นเรื่องราวความรู้ บอกเล่าให้ทราบ ให้แนวคิด ให้ความเพลิดเพลิน และสารเชิงโน้มน้าวใจ หากเราไม่สามารถแยกแยะประเด็นสำคัญๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเรื่องได้ เราก็จะไม่สามารถนำประโยชน์จากการฟังและดูสารนั้นไปใช้ประโยชน์ได้เลย

          การฝึกใช้ความคิดไตร่ตรองในขณะที่อ่าน ฟังและดู  จะทำให้เรากระจ่างชัดในเจตนาและความคิดของผู้เขียนและผู้พูดว่า  มีความประสงค์และมีเหตุผลอย่างไร   การอ่านการฟังและดูโดยใช้หลักการวิเคราะห์เช่นนี้  ทำให้เราเป็นผู้มีปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลได้ถูกต้อง

 

          เว็บไซต์  :  http://readingthai02.blogspot.com/2014/10/blog-post.html

<< Go Back