ประโยค
ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีความเกี่ยวข้องกันถูกต้องตามระเบียบของภาษา และมีเนื้อความบริบูรณ์ ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง
องค์ประกอบของประโยค
คำที่นำมาเรียงกันจะเป็นประโยคได้ ก็ต่อเมื่อมีภาคประธานและภาคแสดง นอกจากนี้ประโยคยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก
เช่น แมวเล่นในสวน แยกได้ แมว(ประธาน) เล่น(อกรรมกริยา) ในสวน(ขยายกริยา)
อารีขายผลไม้ทุกวัน แยกได้ อารี(ประธาน) ขาย(สกรรมกริยา) ผลไม้(กรรม) ทุกวัน(ขยายกริยา)
ภารโรงสมนึกเป็นคนดี แยกได้ ภารโรง(ประธาน) สมนึก(ขยายประธาน) เป็น(วิกตรรถกริยา) คนดี(ขยายกริยา)
รูปประโยค
๒.๑ ประโยคประธาน หมายถึง ประโยคที่เอาผู้กระทำขึ้นต้นประโยค เช่น แดงเตะตะกร้อ
๒.๒ ประโยคกรรม หมายถึง ประโยคที่เอาผู้กระทำขึ้นต้นประโยค เช่น นักเรียนถูกครูตำหนิ
๒.๓ ประโยคกริยา หมายถึง ประโยคที่เอากริยา เกิด มี ปรากฏ ขึ้นต้นประโยค เช่น มีข้าวในนา
๒.๔ ประโยคการิต หมายถึง ประธานของประโยคประโยคกรรมมีผู้รับใช้แทรกเข้ามา
เช่น คุณแม่ให้ฉันรดน้ำต้นไม้ (ประธานมีผู้รับใช้)
หนังสือถูกครูให้นักเรียนอ่าน (กรรมมีผู้รับใช้)
เพื่อนให้ฉันทำการบ้าน (ประธานมีผู้รับใช้)
การจำแนกประโยคตามเจตนาผู้ส่งสาร
๓.๑ ประโยคบอกเล่าหรือประโยคแจ้งให้ทราบ เช่น ธรรมะย่อมชนะอธรรม
๓.๒ ประโยคคำถาม จะมีคำที่แสดงคำถามกำกับอยู่ 2 ลักษณะ คือ ต้องการคำตอบที่เป็นเนื้อความ และต้องการเพียงการตอบรับหรือปฏิเสธเท่านั้น
๓.๓ ประโยคปฏิเสธ จะมีคำว่า ไม่ ประกอบอยู่เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความหมายตรงกันข้ามกับประโยคบอกเล่า เช่น นิธิโรจน์ไม่ขี้เกียจเรียนหนังสือ วันนาไม่เคยกินส้มตำ
๓.๔ ประโยคคำสั่งและขอร้อง เป็นประโยคที่มีลักษณะสั่งให้ทำหรือขอร้องให้ปฏิบัติ ซึ่งสามารถละประธานไว้ได้ เพราะผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างเข้าใจและทราบว่าสั่งหรือขอร้องใคร
ชนิดของประโยคในภาษาไทยแบ่งตามลักษณะ
๔.๑ ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงหนึ่ง
โดยมีโครงสร้าง ประธาน + กริยา + (บทกรรม)
๔.๒ ประโยคความรวม คือ ประโยคที่เกิดจากประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน
โดยมีโครงสร้าง ประโยคความเดียว + สันธาน + ประโยคความเดียว
๔.๓ ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลักและประโยคย่อย
โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม
เว็บไซต์ : https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/home/prayokh
|