<< Go Back

คำบุพบท

         คำบุพบท  คือ  คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้ว  ทำให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้น  มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย ฯลฯ

หน้าที่ในการแสดงความสัมพันธ์ของคำบุพบท

          ๑. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ เช่น คนในเมือง

          ๒. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเวลา เช่น เขาเปิดไฟจนสว่าง

          ๓. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ เช่น แหวนวงนี้เป็นของฉัน

          ๔. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับเจตนาหรือสิ่งที่มุ่งหวัง เช่น เขาทำเพื่อลูก

          ๕. แสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับอาการ เช่น เราเดินไปตามถนน

หลักการใช้คำบุพบทบางคำ

          "กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ เช่น ฉันเห็นกับตา

          "แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น อาจารย์มอบรางวัลให้แก่นักเรียนที่เรียนดี

          "แด่" ใช้แทนตำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น ลูกมอบพวงมาลัยแด่แม่เนื่องในวันแม่

          "แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น เขามีแม่แต่ไม่มีพ่อ

          "ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะหน้าถัดไป เทียบจำนวน เป็นต้น เช่น เขายื่นคำร้องต่อศาล

          คำบุพบท  เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลัง  คำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร 

          เช่น   - ลูกชายของฉันเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของฉันเรียนเก่ง

                   - พ่อทำงานหนักเพื่อลูก

                   - เขาเลี้ยงสุนัขไว้สำหรับแก้เหงา

ชนิดของคำบุพบท

         คำบุพบทแบ่งเป็น ๒ ชนิด

         ๑. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้

         - บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ  เช่น  ฉันชื้อที่ดินของนางจันทร์ (นามกับนาม)

         - บอกความเกี่ยวข้อง  เช่น  เธอต้องการมะนาวในสวน (นามกับนาม) พ่อเห็นแก่แม่ (กริยากับนาม)

         - บอกการให้และบอกความประสงค์ เช่น  แกงหม้อนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร (นามกับกริยา)

         - บอกเวลา  เช่น  เขามาตั้งแต่เช้า (กริยากับนาม) เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว (นามกับนาม)

         - บอกสถานที่  เช่น  เธอมาจากหัวเมือง (กริยากับนาม)

         - บอกความเปรียบเทียบ  เช่น  เขาหนักกว่าฉัน (กริยากับนาม) เขาสูงกว่าพ่อ (กริยากับนาม)

         ๒. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น - ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม - ดูกร ท่านพราหมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย - ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน - ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด - ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้

ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท

         ๑. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น เขามุ่งหน้าสู่เรือน ป้ากินข้าวด้วยมือ

         ๒. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น เขาเป็นลูกฉัน (เขาเป็นลูกของฉัน) แม่ให้เงินลูก (แม่ให้เงินแก่ลูก)

         ๓. ถ้าไม่มีคำนามหรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น เธออยู่ใน พ่อยืนอยู่ริม เขานั่งหน้า ใครมาก่อน ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง

ตำแหน่งของคำบุพบท

         เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำหรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท  มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า  ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่าง ๆ  ดังนี้

         ๑. นำหน้าคำนาม  เช่น  เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา เขาอยู่ที่บ้านของฉัน

         ๒. นำหน้าคำสรรพนาม  เช่น  เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว

         ๓. นำหน้าคำกริยา  เช่น  เขาเห็นแก่กิน โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้

         ๔. นำหน้าคำวิเศษณ์  เช่น  เขาวิ่งมาโดยเร็ว เธอกล่าวโดยซื่อ


          เว็บไซต์  :  http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940206/Preposition.html

<< Go Back