ความเป็นมา
จากความต้องการฟิ้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และความต้องการตรงกันที่ต้องการแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าของโลก จึงได้มีการพยายามที่จะจัดตั้งองค์การการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization : ITO) เพื่อจัดระเบียบการค้าระหว่างประเทศ โดยเริ่มแรกได้มีการรวมตัวกันเมื่อปี ค.ศ. 1947 (วันที่ 30 ตุลาคม 2490) มีประเทศภาคีสมาชิกเริ่มแรก 23 ประเทศ ได้มีการร่วมประชุม ณ องค์การ สหประชาชาติ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อร่วมกันจัดทำข้อตกลงขึ้นมาใช้ เรียกว่า "ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า " (General Agreement on Tariff and Trade : GATT) ที่ถือได้ว่าเป็นแม่บทของกฏเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2491
ในเดือนพฤศจิการยน 2490 ผู้แทนจาก 56 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันที่กรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เพื่อพิจารณาร่างจัดตั้งองค์การการค้าโลก (International Trade Organization : ITO) ผู้แทนจาก 53 ประเทศ ได้ลงนามรับรองเอกสารที่บรรจุเนื้อหาของสนธิสัญญาฮานาวา (The Havana Charter) ในเดือนมีนาคม 2491 แต่เนื่องจากสนธิสัญญาดังกล่าวมีปัญหาในเรื่องการให้สัตยาบันจากรัฐบาลประเทศที่ลงนาม ทำให้ไม่สามารถจัดตั้งองค์การการค้าโลก ( ITO) ดังนั้นข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) เท่านั้นจึงเป็นเครื่องมือเกี่ยวกับการค้าโลก โดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นสาระสำคัญ ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการค้าของโลกให้เป็นไปอย่างเสรี มีพื้นฐานที่มั่นคง และเปิดเสรีแบบก้าวหน้าเป็นลำดับ และกำหนดแนวทางส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศภาคีสมาชิก สำนักงานเลขาธิการแกตต์ (GATT Secretariate) ทำหน้าที่ในการควบคุมและประสานงานระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มเป็น 145ประเทศ
บทบาทหน้าที่ของ GATT
ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) มี 38 มาตรา ประเทศภาคีสมาชิกจะต้องประกาศรับรองความตกลงที่ประเทศภาคีสมาชิกต้องปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เรียกว่า " Protocol of Provisional Application " ได้่แก่ การทำพิธีสารแห่งความเกี่ยวข้องเฉพาะกาลที่จะปฏิบัติและแก้ไขกฏหมายของแต่ละประเทศภาคีสมาชิกให้สอดคล้องกับความตกลง และกำหนดตารางแสดงข้อลดหย่อนภาษีศุลกากรไว้ว่า จะไม่เก็บภาษีศุลกากรเกินกว่าอัตราที่ได้ผูกพันไว้ ดังนั้น GATT จึงจะต้องมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นเวทีสำหรับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศภาคีสมาชิก เพื่อแก้ไขปัญหาหรือลดอุปสรรคหรือมาตรการกีดกันทางการค้า และเป็นเวทีไกล่เกลี่ยยุติข้อพิพาท ในกรณีประเทศภาคีสมาชิกมีข้อพิพาททางการค้าระหว่างกัน โดยจะมีการจัดตั้งคณะผู้พิจารณา เพื่อหาข้อสรุปนำเสนอให้คณะมนตรีแกตต์ (GATT Council) ตัดสินขี้ขาด และอาจจะกำหนดมาตรการลงโทษประเทศภาคีสมาชิกที่ฝ่าฝืน
ในช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2536 GATT ได้จัดให้มีการเจรจาการค้าหลายฝ่าย เพื่อลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคทางการค้ารวม 8 รอบ รอบสุดท้าย คือ การเจรจารอบอุรุกวัย ซึ่งถือเป็นการเจรจารอบสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์การค้าโลกมากที่สุด เพราะนอกจากจะมีการเจรจาลดภาษีสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม และอุปสรรคทางการค้าแล้ว ยังมีการปรับปรุงกฏเกณฑ์ของ GATT ให้กระชับรัดกุมและทันสมัย สอดคล้องต่อภาวะการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากมาย โดยขยายขอบเขตครอบคลุมถึงการค้าบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และมาตรการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า
หลังจากแกตต์เปลี่ยนสถานะไปเป็น WTO ประเทศสมาชิกก็ได้มีการปฏิบัติตามความตกลงรอบอุรุกวัยไปแล้วหลายเรื่อง เช่น การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร รวมทั้งการแก้ไขกฏระเบียบต่างๆ
GATT กับการค้าโลก
ตามบทบัญญัติของ GATT มีหลักการดำเนินงานเพื่อผดุงรักษาให้บรรดาประเทศภาคีสมาชิกปฏิบัติตามข้อตกลง เช่น
- การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปฎิบัติต่อชาติอื่นๆอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) ประเทศต่างๆจะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติในการเรียกเก็บภาษีศุลกากรหรือค่าธรรมเนียมหรือใช้มาตรารใดๆกับสินค้าขาเข้า ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือประเทศใหญ่
- การผดุงรักษาไว้ซึ่งความเท่าเทียมกัน (National Treatment) ระหว่างสินค้านำเข้าจากประเทศภาคีสมาชิกกับสินค้าภายในประเทศของตน
- การคุ้มครองอุตสาหกรรรมภายในประเทศ จะต้องใช้มาตรการด้านภาษีศุลกากรเท่านั้น เว้นแต่การดำเนินการนั้นสอดคล้องกับบทบัญญัติของ GATT
- ให้มีการผูกพันอัตราภาษีศุลกากร (Tariff Binding) ตามข้อตกลง หากประเทศภาคีสมาชิกต้องการจะเปลี่ยนแปลงอัตราภาษาีศุลกากรให้ต่างจากที่ผูกพันไว้ จะต้องมีการเจรจากับประเทศคู่การค้า
- ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการค้าระหว่างประเทศ เช่น ป้องกันการทุ่มตลาด การให้การอุดหนุนการส่งออก ฯลฯ ถ้ามีการกระทำดังกล่าว GATT อนุญาตให้ประเทศภาคีสมาชิกเรียกเก้บค่าธรรมเนียมต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti-Dumping Duty) และค่าธรรมเนียมต่อต้านการอุดหนุน (Countervailing Duty) ได้
- ห้ามจำกัดปริมาณการนำเข้า เว้นแต่เป็นกรณีสอดคล้องกับข้อยกเว้นของ GATT เช่น เพื่อแก้ไขปัญหาขาดดุลการชำระเงิน เพื่อคุ้มครองชีวิตหรือพันธุกรรมมนุษย์ สัตว์ พืช และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
- สามารถขอผ่อนผันหรือยกเว้นการปฏิบัติตามข้อผูกพันได้ ในกรณีประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งอนุญาตให้ใช้มาตรการฉุกเฉินในการจำกัดปริมาณการนำเข้า หากการนำเข้าสินค้านั้นเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วจนมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ
- เปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการค้าเสรียิ่งขึ้น แต่มีเงื่อนไขว่า มาตรการต่างๆทั้งทางด้านภาษีศุลการกรและมิใช่ภาษีศุลกากร จะต้องไม่สูงขึ้นกว่าเ้ดิม
- ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในการปฏิบัติตามข้อตกลงของ GATT เพื่อช่วยเหลือให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้น และยังอนุญาตให้ประเทศภาคีสมาชิกที่พัฒนาแล้วให้สิทธิประโยชน์พิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยการยกเว้นหรือลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา
ประเทศภาคีสมาชิกก่อตั้ง GATT 23 ประเทศ
- ออสเตรเลีย (Australia)
- เบลเยี่ยม (Belgium)
- บราซิล (Brazil)
- พม่า (Myanmar)
- แคนาดา (Canada)
- ศรีลังกา (Ari Lanka)
- ชิลี (Chili)
- จีน (China)
- คิวบา (Cuba)
- สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic)
- ฝรั่งเศส (France)
- อินเดีย (India)
- เลบานอน (Lebanon)
- ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
- เนเธอร์แลนด์ (Netherland)
- นิวซีแลนด์ (New Zealand)
- นอร์เวย์ (Norway)
- ปากีสถาน (Pakistan)
- โรดีเชียใต้ (South Rhodesia)
- ซีเรีย (Syria)
- แอฟริกาใต้ (South Africa)
- สหราชอาณาจักร (United Kingdom)
- สหรัฐอเมริกา (United States of America)
|